วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

6 คุณสมบัติของ นักบัญชี ที่ดี

6 คุณสมบัติของ นักบัญชี ที่ดี

ในการทำธุรกิจทุกประเภทและทุกขนาด นอกจากการจัดวางระบบการบัญชีจะเป็นสิ่งสำคัญและมี ความจำเป็นสำหรับนักธุรกิจแล้ว “นักบัญชี” ก็มีความสำคัญไม่แตกต่างกัน เพราะเป็นผู้จัดจดบันทึกหรือลงลงรายละเอียดต่างๆ และต้องเป็นนักบัญชีที่มีความรู้เกี่ยวกับบัญชีเบื้องต้นเป็นอย่างดี รวมถึงมีคุณสมบัติด้านอื่นๆเป็นส่วนประกอบ ดังนี้
6 คุณสมบัติของนักบัญชีที่ดี
  1. มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ เนื่องจากนักบัญชีเป็นผู้รู้ความ เคลื่อนไหวทางการเงินขององค์กรธุรกิจ จึงต้องมีความซื่อสัตย์และมีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพของตนเอง โดยไม่เปิดเผยข้อมูลทางการเงินขององค์กรต่อคู่แข่งทางธุรกิจ หรือบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเด็ดขาด
  2. มีความละเอียดรอบคอบ ในการรับมอบเอกสารทางการเงินต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องทุกครั้ง
  3. มีความรู้ความสามารถ สามารถนำทฤษฎีมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขได้อย่างถูกต้อง และมีความเข้าใจในธุรกิจขององค์กร มีการนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจได้ด้วย
  4. รับผิดชอบงานในหน้าที่ มีความขยันมุ่งมั่นและอดทน เพราะงานบัญชีจำเป็นต้องทำงานให้สำเร็จลุล่วงตามกำหนดเวลา
  5. กล้าแสดงความคิดเห็น กล้านำเสนอแนวคิดและวิธีการใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรธุรกิจ รวมทั้งมีการตรวจสอบข้อมูลทางบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบการทุจริตหรือความเสียหายต้องรีบแจ้งผู้มีอำนาจหรือผู้บริหารทันที
  6. พัฒนาตนเอง โดยการศึกษาหาความรู้จากข้อมูล ข่าวสาร หรือหาโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับระบบบัญชีกับผู้ที่ประกอบวิชาชีพ เดียวกันอยู่เสมอๆ
นักบัญชีที่ดี นอกจากมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีแล้ว 6 คุณสมบัติของนักบัญชีที่ดี ยังเป็นใบเบิกทางสู่ความก้าวหน้าในวิชาชีพของตนเองอีกด้วย

การบัญชี และ การจัดการ สำหรับองค์กรธุรกิจ

การบัญชี และ การจัดการ สำหรับองค์กรธุรกิจ

การจัดทำบัญชีขององค์กรธุรกิจต่างๆ แม้ว่าจะมีมาตรฐานการบัญชีเป็นหลักปฏิบัติ แต่ระบบบัญชีที่นำมาใช้กับธุรกิจก็มีความแตกต่างกัน และต้องเลือกระบบบัญชีที่เหมาะสมกับขนาดและประเภทของธุรกิจนั้นๆ ผู้ประกอบการควรเลือกระบบการบัญชีสำหรับองค์กรธุรกิจอย่างไร มีคำแนะนำสำหรับเรื่องนี้
การบัญชีและการจัดการ สำหรับองค์กรธุรกิจ
การจัดทำบัญชีหรือหลักบันทึกรายการทางบัญชีมาตรฐานการบัญชี แบ่งออกเป็น 2 ระบบ ได้แก่ ระบบบัญชีเดี่ยว และระบบบัญชีคู่ การบันทึกบัญชีในแต่ละระบบเหมาะกับขนาดของธุรกิจที่แตกต่างกัน ดังนี้
  • 1.ระบบบัญชีเดี่ยว
หลักการบันทึกบัญชีตามระบบบัญชีเดี่ยว เป็นวิธีบันทึกบัญชีเพียงด้านเดียวเท่านั้น คือด้านเดบิตหรือด้านเครดิต เพียงด้านใดด้านหนึ่ง และระบบบัญชีเดี่ยวนี้จะบันทึกเฉพาะรายการในบัญชีเงินสด หรือบัญชีที่สำคัญบางบัญชี เช่น บัญชีลูกหนี้ บัญชีเจ้าหนี้ การบันทึกบัญชีตามระบบบัญชีเดี่ยวนี้นิยมใช้ในกิจการขนาดเล็กที่เจ้าของเป็น ผู้ควบคุมและจดบันทึกเอง
  • 2.ระบบบัญชีคู่
หลักการบันทึกบัญชีตามระบบบัญชีคู่ เป็นวิธีบันทึกรายการบัญชีต่างๆ ประกอบด้วยสมุดรายวันทั่วไป สมุดบัญชีแยกประเภท และเอกสารหลักฐานต่างๆเป็นการบันทึกอย่างเป็นระบบตามหลักปฏิบัติ ซึ่งเป็นระบบบัญชีที่สามารถใช้ได้ทั้งกิจการขนาดเล็กและธุรกิจขนาดใหญ่ การบันทึกบัญชีตามระบบบัญชีคู่แต่ละรายการจะเกี่ยวข้องกับบัญชีสองด้าน คือบันทึกด้านเดบิตหนึ่งบัญชีและบันทึกด้านเครดิตอีกหนึ่งบัญชี ด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน และจะมีผลให้เกิดดุลขึ้นในตัวเอง
การบัญชี และการจัดการสำหรับองค์กรธุรกิจ เมื่อมีการวางระบบการบัญชีให้เหมาะสมกับขนาดของธุรกิจแล้ว ข้อมูลจากการบัญชีจะแสดงให้เห็นถึงฐานะทางการเงินของธุรกิจ และข้อมูลที่ได้ยังเป็นประโยชน์ในการวางแผนธุรกิจอีกด้วย

บัญชีเบื้องต้น เรียนรู้ปัจจัยความสำเร็จของนักธุรกิจ

บัญชีเบื้องต้น เรียนรู้ปัจจัยความสำเร็จของนักธุรกิจ

การจัดทำบัญชีถือเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรธุรกิจทุกประเภท การเรียนรู้หลักบัญชีเบื้องต้น คือปัจจัยความสำเร็จของนักธุรกิจ เพราะนอกจากสามารถตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องของกิจการแล้ว การเรียนรู้ระบบบัญชีเบื้องต้นยังทำให้ทราบสถานะของธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการนำข้อมูลมาปรับใช้ในการวางแผนธุรกิจให้ทันต่อการแข่งขัน
ความหมายของการบัญชี
การบัญชี หรือ Book Keeping หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลหรือรายการต่างๆของกิจการเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายไว้เป็น หลักฐานอย่างสม่ำเสมอ จัดแยกประเภท และทำสรุปข้อมูลเพื่อแสดงฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานนั้น
วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชี

  1.  เพื่อจดบันทึกรายการต่างๆที่มีการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับธุรกิจ โดยเรียงลำดับก่อนหลังและแยกประเภทรายการต่างๆไว้ให้เป็นปัจจุบัน
  2.  เพื่อให้การจดบันทึกข้อมูลทางธุรกิจเป็นไปตามหลักการบัญชีและตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี
  3.  เพื่อแสดงผลการดำเนินงานและแสดงฐานะทางการเงินของธุรกิจในรอบระยะเวลาหนึ่ง ตามที่องค์กรกำหนดไว้
ประโยชน์ในการรู้ข้อมูลทางบัญชี
  1.  ทำให้ผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการทราบผลการดำเนินงานในช่วงเวลาหนึ่งๆ ว่ามีผลกำไรหรือขาดทุน
  2.  ข้อมูลทางบัญชีเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของกิจการหรือผู้บริหาร ในการนำไปกำหนดนโยบายหรือวางแผนดำเนินงาน
  3.  ข้อมูลทางบัญชี สามารถใช้เป็นข้อมูลการตรวจสอบความผิดพลาดในการดำเนินธุรกิจได้
  4.  เป็นประโยชน์สำหรับเจ้าของกิจการในการตรวจสอบและดูแลทรัพย์สิน
  5.  ข้อมูลทางบัญชีและการเงิน เป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้ประกอบการแสวงหาแหล่งเงินทุนได้ง่าย
จากความหมาย วัตถุประสงค์ และประโยชน์ของการจัดทำบัญชี จะเห็นว่าระบบบัญชีมีความสำคัญต่อองค์กรธุรกิจและเจ้าของกิจการอย่างมาก การเรียนรู้บัญชีเบื้องต้น ของผู้ประกอบการจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำธุรกิจทุกประเภท เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะนำธุรกิจไปสู่ความสำเร็จนั้นเอง

การบัญชีเบื้องต้น (Accounting Basic) คืออะไร?

การบัญชีเบื้องต้น (Accounting Basic) คืออะไร?

เรื่องของระบบบัญชี นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการอาจคิดว่าเป็นเรื่องที่ซับซ้อนละเอียดอ่อน และคิดว่าหากไม่มีพื้นฐานความรู้ในเรื่องบัญชีมาก่อนก็เป็นเรื่องที่ยากต่อ ความเข้าใจ ซึ่งความจริงแล้วระบบบัญชีหรือการจัดทำบัญชีสำหรับผู้ประกอบการ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า หลักบัญชีหรือการจัดทำบัญชีคืออะไร เมื่อรู้แล้ว สิ่งที่จะต้องความเข้าใจต่อไปก็คือ “การบัญชีเบื้องต้น” คืออะไร
การบัญชีเบื้องต้น คืออะไร
คำว่า “การบัญชี” สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ได้ให้ความหมายของการบัญชีไว้ว่า หมายถึง ศิลปะของการเก็บรวมรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือ การให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ

ความหมายของคำว่า การบัญชี หรือ Accounting แตกต่างจากคำว่า การทำบัญชี หรือ Book keeping แต่มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน เพราะการบัญชีคือหลักปฏิบัติหรือรูปแบบในการทำบัญชี ส่วนคำว่า การทำบัญชีก็คือการจดบันทึกหรือการทำบัญชีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบัญชี
ดังนั้น การบัญชีเบื้องต้น คือหลักปฏิบัติทางบัญชีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การออกแบบระบบบัญชี การวางรูปบัญชี การบันทึกบัญชี การรายงานทางบัญชี การวิเคราะห์ข้อมูลทางการบัญชี และการสอบบัญชี โดยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานทั้งหมดเรียกว่า นักบัญชี หรือ Accountant
โดยสรุป จะเห็นว่าเรื่องของระบบบัญชีหากนักธุรกิจหรือผู้ประกอบการรู้จักศัพท์บัญชี และเข้าใจความหมายของศัพท์ทางบัญชีบ้าง ก็จะเป็นประโยชน์สำหรับการบริหารโดยเฉพาะการบัญชีเบื้องต้นที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจทุกประเภท

ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ มาตรฐานการบัญชียุค Digital


ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ มาตรฐานการบัญชียุค Digital

ในสังคมยุค Digital ที่ข้อมูลการสื่อสารเชื่อมต่อถึงกันผ่านโลกออนไลน์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การสื่อสารมีบทบาทสำคัญในทุกๆด้าน ทั้งการคำนวณการบันทึกข้อมูลและการจัดทำบัญชี โดยการนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานบัญชี หรือที่เรียกว่า “ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ เป็นการปรับเปลี่ยนข้อมูลในกระดาษมาเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สอดคล้องกับการสื่อสารในยุคสังคมออนไลน์
รูปแบบการใช้ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์
1.การเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปบัญชี ซึ่งผู้ใช้จะต้องมีพื้นฐานทางด้านบัญชีในระดับดี สามารถใช้โปรแกรมได้อย่างเข้าใจโดยการศึกษาหรือทำความเข้าใจจากผู้พัฒนา โปรแกรมนั้น หรืออาจจ้างนักเขียนโปรแกรมเพื่อพัฒนาโปรแกรมบัญชีสำหรับใช้ในกิจการโดย เฉพาะ แต่ต้องยึดหลักมาตรฐานการบัญชีเป็นหลัก
2.การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางธุรกิจกับงานบัญชี เช่น ประยุกต์ใช้โปรแกรมสำนักงานประเภทตารางงาน excel การเลือกใช้โปรแกรมประยุกต์ ผู้ใช้ต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านบัญชีเป็นอย่างดีรวมถึงมีความรู้ความเข้า ใจในการใช้คอมพิวเตอร์ในระดับดีด้วย

ประโยชน์และข้อแตกต่างของระบบบัญชีคอมพิวเตอร์กับระบบบัญชีทั่วไป
  1. การใช้ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ทำให้ประหยัดเวลา มีความถูกต้องและแสดงผลได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน แตกต่างการทำบัญชีโดยทั่วไปที่ต้องใช้เวลาทั้งการจัดทำ การตรวจสอบรวมถึงการนำเสนอ
  2. ขั้นตอนการลงบัญชีทำได้โดยอัตโนมัติ มีการสรุปยอดและเป็นปัจจุบันตลอดเวลา แตกต่างจากการจัดทำบัญชีทั่วไป ที่ต้องใช้เวลาในการจัดทำบัญชีให้เป็นปัจจุบันและต้องรอเวลาเพื่อสรุปยอด
  3. ไม่ต้องใช้บุคลากรมาก ซึ่งแตกต่างจากการทำบัญชีทั่วไปที่ต้องใช้บุคลากรเพื่อจัดทำบัญชีหลายแผนก
  4. สามารถเปรียบเทียบข้อมูลหรือสถิติย้อนหลังได้ทันที แตกต่างจากการทำบัญชีทั่วไปที่ต้องเสียเวลาค้นหาเพื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบ
  5. โอกาสผิดพลาดมีน้อย เช่น การผ่านบัญชีด้านเดบิตหรือเครดิตผิดไม่เท่ากัน ระบบจะไม่บันทึกให้ทำให้ทราบข้อผิดพลาดและสามารถแก้ไขตัวเลขได้ทันที่
ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ คือมาตรฐานการบัญชียุค Digital ที่ต้องใช้ควบคู่กันไปกับระบบบัญชีทั่วไป เพื่อช่วยให้เกิดความถูกต้อง สะดวกรวดเร็ว และสามารถป้องกันการเข้าถึงข้อมูลต่างๆจากคู่แข่งได้โดยการกำหนดรหัสผ่านใน การเข้าใช้โปรแกรม

มาตรฐานการบัญชี (Accounting standard) คืออะไร?

มาตรฐานการบัญชี (Accounting standard) คืออะไร?

การทำธุรกิจหรือประกอบกิจการใดๆ ระบบบัญชีหรือการจัดทำบัญชีถือเป็นหัวใจหลักของการดำเนินงาน ความหมายของคำว่า ระบบบัญชีก็คือ แบบแผนของการปฏิบัติงานทางการบัญชี เริ่มตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูลทางการเงิน การจดบันทึกบัญชี การจำแนกประเภทบัญชี การกำหนดแบบพิมพ์เอกสารและสมุดบัญชี ดังนั้นเพื่อให้การจัดทำระบบบัญชีเหล่านี้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงต้องมีมาตรฐานการบัญชีเกิดขึ้น
มาตรฐานการบัญชี คืออะไร
มาตรฐานการบัญชี หรือ Accounting standard คือกฎเกณฑ์และวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่ได้ทำการศึกษาและพัฒนาภายใต้สภาวะ แวดล้อมทางเศรษฐกิจ ตามหลักกฎหมายของแต่ละประเทศอย่างเหมาะสมและมีเหตุผล จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป แล้วนำมาเป็นหลักในการปฏิบัติงานทางบัญชีให้เป็นไปในแนวทางทางเดียวกัน
หลักปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี
ระบบการจัดทำบัญชีที่ถือเป็นหลักปฏิบัติโดยทั่วไป ยืดถือตามมาตรฐานการบัญชีเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กรธุรกิจ ร้านค้า หรือแม้แต่บัญชีครัวเรือน หลักในการปฏิบัติได้แก่

  1. การรวบรวม ได้แก่ การรวบรวมหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องทางการเงิน เช่น เอกสารการรับจ่าย ใบเสร็จรับเงิน ไปส่งสินค้า หรือบัญชีเกี่ยวกับการเงิน
  2. การจดบันทึก ได้แก่การนำหลักฐานทางการเงินมาจดบันทึกในสมุด หรือบันทึกลงในเอกสารอื่นๆ เช่น การลงทะเบียนซื้อสินค้า หรือลงทะเบียนขายสินค้า โดยตรวจสอบรายการจากใบส่งของหรือใบเสร็จรับเงิน
  3. การจำแนก ได้แก่การจำแนกประเภทหรือแยกบัญชีให้เป็นหมวดหมู่ เช่น บัญชีรายรับรายจ่าย บัญชีหรือทะเบียนสินค้า บัญชีเงินสด
  4. สรุปผล หมายถึงเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีจะมีการสรุปรวมข้อมูล ปรับปรุงรายการเพื่อจัดทำงบการเงิน เช่น สรุปยอดทุกสิ้นเดือน 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี
  5. การจัดทำงบการเงิน ได้แก่การนำรายละเอียดจากการสรุปผลมาจัดทำงบการเงิน เพื่อให้รู้สถานะขององค์กร เช่น มีรายรับรายจ่าย มีค่าใช้จ่าย หรือมีกำไรขาดทุนอย่างไรใน 1 รอบบัญชี
การจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี มีหลักปฏิบัติที่สำคัญคือต้องมีความสม่ำเสมอต้องลงบัญชีให้เป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบยอดหรือตรวจสอบรายการได้ เพื่อให้ผู้ที่ใช้งบการเงินหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้นำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สมุดรายวันเฉพาะและบัญชีคุมยอด

สมุดรายวันเฉพาะ

                สมุดรายวันเฉพาะเป็นสมุดรายวันข้นต้นประเภทหนึ่ง เหมาะสำหรับกิจการที่มีรายการค้าเกิดขึ้นจำนวนมาก กิจการแต่ละแห่งจะมีสมุดรายวันเฉพาะกี่เล่มก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการดำเนินงานของกิจการนั้นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องใช้กี่เล่ม แต่รายการค้าใดที่มีรายการน้อย รายการก็จะบันทึกไว้ในสมุดรายวันทั่วไป
 
                สมุดรายวันเฉพาะที่นิยมใช้กันมาก มีดังนี้
1.       สมุดรายวันซื้อ บันทึกรายการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ
2.       สมุดรายวันขาย บันทึกรายการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ
3.       สมุดรายวันส่งคืนและส่วนลด บันทึกรายการส่งคืนสินค้าหรือได้รับส่วนลด กรณีที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ
4.       สมุดรายวันรับคืนและส่วนลด บันทึกรายการรับคืนสินค้าหรือให้ส่วนลด กรณีที่ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ
5.       สมุดรายวันเงินสดรับ บันทึกรายการรับเงินสด
6.       สมุดรายวันเงินสดจ่าย บันทึกรายการจ่ายเงินสด
7.       สมุดเงินสด บันทึกรายการรับและจ่ายเงินสด
                ส่วนรายการใดที่บันทึกในสมุดรายวันเฉพาะไม่ได้ ก็ให้บันทึกในสมุดรายวันทั่วไป
 
                ประโยชน์ของสมุดรายวันเฉพาะ
 
1.       รายการค้าที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และเป็นประเภทเดียวกันจะถูกจัดเรียงลำดับไว้ในสมุดรายวันเล่มเดียวกัน เพื่อประหยัดเวลาในการบันทึกบัญชี
2.       ประหยัดเวลาในการผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท เพราะเวลาผ่านบัญชีไม่ต้องผ่านทุกวันเหมือนสมุดรายวันทั่วไป แต่จะใช้ยอดรวมผ่านทุกสิ้นเดือน หรือทุก 15 วัน
3.       เพื่อให้มีระบบการควบคุมภายในที่ดีในการป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้น โดยแบ่งแยกหน้าที่ในการบันทึกบัญชีในสมุดรายวันเฉพาะแต่ละประเภท
 
บัญชีคุมยอด และบัญชีแยกประเภทย่อย

                        ธุรกิจซื้อขายสินค้าจะมีรายการซื้อขายสินค้าที่เป็นเงินสดและเป็นเงินเชื่อจำนวนมาก โดยเฉพาะในการซื้อขายสินค้าเป็นเงินเชื่อจะทำให้ธุรกิจมีเจ้าหนี้การค้า และลูกหนี้การค้ามากมาย
ธุรกิจจึงต้องเปิดบัญชีแยกประเภทสำหรับเจ้าหนี้การค้าและลูกหนี้การค้าแต่ละรายเรียกว่า บัญชีแยกประเภทย่อย ส่วนบัญชีเจ้าหนี้การค้า และบัญชีลูกหนี้การค้าซึ่งเป็นบัญชีรวมยอดเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ของกิจการทั้งหมด เรียกว่า บัญชีคุมยอด
                        ในธุรกิจซื้อขายสินค้าเมื่อเกิดรายการเกี่ยวกับเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ จะต้องผ่านบัญชีแยกประเภททั้งบัญชีคุมยอด และบัญชีแยกประเภทย่อยของลูกหนี้หรือเจ้าหนี้แต่ละราย บัญชีคุมยอดนี้จะแสดงในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไปรวมกับบัญชีแยกประเภททั่วไปกับบัญชีอื่นๆ และยอดคงเหลือในบัญชีย่อยแต่ละรายรวมกันจะต้องเท่ากับยอดคงเหลือในบัญชีคุมยอด
                        ลักษณะของบัญชีย่อยมีลักษณะเหมือนกับบัญชีแยกประเภททั่วไป บัญชีย่อยจะนิยมแสดงแบบยอดคงเหลือเพราะสามารถทราบยอดคงเหลือได้ทันที
 
สมุดรายวันซื้อ

                        สมุดรายวันซื้อเป็นสมุดที่ใช้บันทึกรายการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อเท่านั้น ถ้าเป็นการซื้อสินค้าเป็นเงินสดก็จะต้องบันทึกในสมุดเงินสดจ่าย และถ้าเป็นการซื้อสินทรัพย์อื่นเป็นเงินเชื่อก็จะต้องบันทึกในสมุดรายวันทั่วไป การอ้างอิงหน้าสมุดรายวันซื้อใช้อักษรย่อ

                        วิธีการบันทึกรายการในสมุดรายวันซื้อ และการผ่านรายการ
1.     บันทึกรายการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อตามใบกำกับสินค้าโดยบันทึกวันเดือนปี วันที่ในใบกำกับสินค้า ชื่อเจ้าหนี้ เงื่อนไขในการชำระเงิน และจำนวนเงินลงในสมุดรายวันซื้อ
2. ทุกสิ้นวันให้ผ่านรายการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อแต่ละรายการไปด้านเครดิตของบัญชีแยกประเภทย่อยเจ้าหนี้การค้าแต่ละราย พร้อมทั้งทำเครื่องหมาย P ในช่อง อ้างอิง ของสมุดรายวันซื้อ และลงเลขหน้าของสมุดรายวันซื้อ (ซ.1) ในช่อง อ้างอิง ของบัญชีแยกประเภทย่อยเจ้าหนี้การค้า
3.   ทุกสิ้นเดือนรวมยอดคงเหลือในช่อง จำนวนเงิน ของสมุดรายวันซื้อ แล้วผ่านจำนวนเงินรวมไปทางด้านเดบิตของบัญชีซื้อ (การบันทึกบัญชีแบบสิ้นงวด) หรือบัญชีสินค้าคงเหลือ (การบันทึกบัญชีแบบต่อเนื่อง) และทางด้านเครดิตของบัญชีเจ้าหนี้การค้าพร้อมทั้งอ้างอิงถึงบัญชีแยกประเภทที่ผ่านบัญชี (511/211) ไว้ใต้จำนวนเงินรวมของสมุดรายวันซื้อและเลขที่หนน้าของสมุดรายวันซื้อ (ซ.1) ในช่อง อ้างอิง ของบัญชีซื้อหรือบัญชีสินค้าคงเหลือ และบัญชีเจ้าหนี้การค้า
 
 
สมุดรายวันขาย
 
                สมุดรายวันขายเป็นสมุดที่ใช้บันทึกรายการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อเท่านั้น ส่วนการขายสินค้าเป็นเงินสดจะต้องบันทึกในสมุดรายวันเงินสดรับ การอ้างอิงหน้าในสมุดรายวันขายใช้อักษรย่อ
 
วิธีการบันทึกรายการในสมุดรายวันขาย  และการผ่านรายการ
1.   บันทึกรายการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อตามใบกำกับสินค้าโดยบันทึกวันเดือนปี เลขที่ใบกำกับสินค้า ชื่อ และจำนวนเงินที่ปรากฏอยู่ในใบกำกับสินค้า ในช่องที่กำหนดไว้ในสมุดรายวันขาย
2. ทุกสิ้นวันให้ผ่านรายการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อแต่ละรายการไปด้านเดบิตของบัญชีแยกประเภทย่อยลูกหนี้การค้าแต่ละราย พร้อมทั้งทำเครื่องหมาย P ในช่อง อ้างอิง ของสมุดรายวันขาย และลงเลขหน้าของสมุดรายวันขาย (ข.1) ในช่อง อ้างอิง ของบัญชีแยกประเภทย่อยลูกหนี้การค้า
3.    ทุกสิ้นเดือนรวมยอดคงเหลือในช่อง จำนวนเงิน ของสมุดรายวันขาย แล้วผ่านจำนวนเงินรวมไปทางด้านเครดิตของบัญชีขาย (การบันทึกบัญชีแบบสิ้นงวด) หรือบัญชีสินค้าคงเหลือ (การบันทึกบัญชีแบบต่อเนื่อง) และทางด้านเดบิตของบัญชีลูกหนี้การค้า พร้อมทั้งอ้างอิงถึงบัญชีแยกประเภทที่ผ่านบัญชี (411/112) ไว้ใต้จำนวนเงินรวมของสมุดรายวันขาย และเลขที่หน้าของสมุดรายวันขาย (ข.1) ในช่อง อ้างอิง ของบัญชีขาย  และบัญชีลูกหนี้การค้า
 
 
สมุดรายวันส่งคืนและส่วนลด
 
                สมุดรายวันส่งคืนและส่วนลดเป็นสมุดที่ใช้สำหรับบันทึกการส่งคืนหรือได้รับส่วนลดเนื่องจากสินค้าที่ส่งมาชำรุด หรือไม่ตรงตามใบสั่งซื้อ กรณีส่งคืนสินค้าหรือได้รับส่วนลดที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ การอ้างอิงหน้าในสมุดรายวันส่งคืนและส่วนลด ใช้อักษรย่อ สค.ถ้าส่งคืนสินค้าและได้รับเป็นเงินสดจะบันทึกในสมุดเงินสดรับ
  
                วิธีการบันทึกรายการในสมุดรายวันส่งคืนและส่วนลด และผ่านรายการ
                1.  บันทึกรายการส่งคืนหรือได้รับส่วนลดตามใบลดหนี้จากลูกค้าหรือใบลดหนี้จากผู้ขาย บันทึกวันเดือนปี เลขที่ใบลดหนี้ ชื่อเจ้าหนี้ และจำนวนเงินลงในสมุดรายวันส่งคืนและส่วนลด
                2.  ทุกสิ้นวันให้ผ่านรายการส่งคืนหรือได้รับส่วนลดแต่ละรายการไปด้านเดบิตของบัญชีแยกประเภทย่อยเจ้าหนี้การค้าแต่ละราย พร้อมทั้งทำเครื่องหมาย P ในช่อง อ้างอิง ของสมุดรายวันส่งคืนและส่วนลด และลงเลขหน้าของสมุดรายวันส่งคืนและส่วนลด (สค.1) ในช่อง อ้างอิง ของบัญชีแยกประเภทย่อยเจ้าหนี้การค้า
                3.  ทุกสิ้นเดือนรวมยอดคงเหลือในช่อง จำนวนเงิน ของสมุดรายวันส่งคืนและส่วนลด แล้วผ่านจำนวนเงินรวมไปด้านเครดิตของบัญชีส่งคืนและส่วนลด และทางด้านเดบิตของบัญชีเจ้าหนี้การค้า พร้อมทั้งอ้างอิงบัญชีแยกประเภทที่ผ่านรายการ (211/512) ไว้ใต้จำนวนเงินรวมของสมุดรายวันส่งคืนและส่วนลด และเลขหน้าของสมุดรายวันส่งคืนและส่วนลด (สค.1) ในช่อง อ้างอิง ของบัญชีส่งคืนและส่วนลดและบัญชีเจ้าหนี้การค้า
 
            
สมุดรายวันรับคืนและส่วนลด
 
                สมุดรายวันรับคืนและส่วนลด เป็นสมุดที่ใช้สำหรับบันทึกการรับคืนหรือให้ส่วนลดแก่ลูกค้าที่ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ เนื่องจากสินค้าที่ส่งมาชำรุด หรือไม่ตรงตามใบสั่งซื้อ แต่ถ้ารับคืนสินค้าที่ลูกค้าซื้อเป็นเงินสดและจ่ายเงินสดจะบันทึกในสมุดเงินสดจ่าย การอ้างอิงหน้าในสมุดรายวันรับคืนและส่วนลดใช้อักษรย่อ รค.

วิธีการบันทึกรายการในสมุดรายวันรับคืนและส่วนลด และผ่านรายการ
                1.  บันทึกรายการรับคืนหรือให้ส่วนลดตามใบลดหนี้จากลูกค้าหรือใบลดหนี้จากลูกค้า บันทึกวันเดือนปี เลขที่ใบลดหนี้ ชื่อลูกหนี้ และจำนวนเงินลงในสมุดรายวันรับคืนและส่วนลด
                2.  ทุกสิ้นวันให้ผ่านรายการรับคืนหรือให้รับส่วนลดแต่ละรายการไปด้านเครดิตของบัญชีแยกประเภทย่อยลูกหนี้การค้าแต่ละราย พร้อมทั้งทำเครื่องหมาย P ในช่อง อ้างอิง ของสมุดรายวันรับคืนและส่วนลด และลงเลขหน้าของสมุดรายวันรับคืนและส่วนลด (รค.1) ในช่อง อ้างอิง ของบัญชีแยกประเภทย่อยลูกหนี้การค้า
                3.  ทุกสิ้นเดือนรวมยอดคงเหลือในช่อง จำนวนเงิน ของสมุดรายวันรับคืนและส่วนลด แล้วผ่านจำนวนเงินรวมไปด้านเดบิตของบัญชีรับคืนและส่วนลด และทางด้านเครดิตของบัญชีลูกหนี้การค้า พร้อมทั้งอ้างอิงบัญชีแยกประเภทที่ผ่านรายการ (412/112) ไว้ใต้จำนวนเงินรวมของสมุดรายวันรับคืนและส่วนลด และเลขหน้าของสมุดรายวันรับคืนและส่วนลด (รค.1) ในช่อง อ้างอิง ของบัญชีรับคืนและส่วนลดและบัญชีลูกหนี้การค้า
 
 
บัญชีเงินฝากธนาคาร

                กิจการส่วนใหญ่จะใช้บริการของธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการรับเงินหรือจ่ายเงิน การรับเงินอาจจะรับเป็นเช็คหรือเงินสด แล้วนำไปฝากธนาคารไว้เพื่อความปลอดภัย และยังได้ดอกเบี้ยอีกด้วย ส่วนในการจ่ายเงินนั้นกิจการส่วนใหญ่จะจ่ายเป็นเช็คเพื่อความสะดวกและปลอดภัย ดังนั้นในบัญชีเงินสดของกิจการนั้นจึงไม่ได้หมายถึงเฉพาะเงินสดในมือเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงเงินฝากธนาคารด้วย

การบันทึกบัญชีกรณีกิจการได้รับหรือจ่ายเป็นเช็ค มีดังนี้
กรณีรับเช็คแล้วนำไปฝากธนาคารทันทีในวันที่รับ บันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต    เงินฝากธนาคาร                               xxx
                เครดิต    ลูกหนี้การค้า/ขาย                            xxx
กรณีรับเช็คแล้วยังไม่นำไปฝากธนาคารในวันที่รับ บันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต    เงินสด                                             xxx
                เครดิต    ลูกหนี้การค้า/ขาย                            xxx
กรณีจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นเช็ค บันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต    ค่าใช้จ่ายต่างๆ                                xxx
                เครดิต    เงินฝากธนาคาร                                xxx
 
สมุดเงินสด

                สมุดเงินสด เป็นสมุดรายวันขั้นต้นที่ใช้สำหรับบันทึกรายการทั้งรับเงินสดและจ่ายเงินสดไว้ในเล่มเดียวกัน ซึ่งเหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีรายการเกี่ยวกับการรับเงินสดและจ่ายเงินสดไม่มากนักในแต่ละงวดบัญชี สมุดเงินสดเป็นทั้งสมุดรายวันขั้นต้น และสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไปของบัญชีเงินสด และบัญชีเงินฝากธนาคาร ดังนั้นเมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชีก็จะต้องหายอดคงเหลือยกไปของบัญชีเงินสด และบัญชีเงินฝากธนาคาร เช่นเดียวกับสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป

                วิธีการบันทึกบัญชี และการผ่านบัญชีในสมุดเงินสด
                1.  บันทึกรายการเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินสด โดยบันทึก คำอธิบายรายการ จำนวนเงินในช่องเงินสดหรือช่องเงินฝากธนาคารทางด้านเดบิต ถ้าเป็นการรับเป็นเงินสดหรือเช็ค และบันทึกทางด้านเครดิต ถ้าเป็นรายการจ่ายเป็นเงินสดหรือจ่ายเป็นเช็ค
                ถ้าเป็นกรณีรับชำระหนี้หรือจ่ายชำระหนี้ ได้รับส่วนลดจากผู้ขายหรือให้ส่วนลดเงินสดกับผู้ซื้อให้บันทึกจำนวนเงินเท่าที่รับหรือจ่ายจริงในช่องเงินสดหรือเงินฝากธนาคาร ส่วนที่เป็นส่วนลดให้บันทึกในช่องส่วนลดรับหรือส่วนลดจ่าย กรณีที่เป็นสมุดเงินสด 3 ช่อง
                2.  ผ่านรายการที่บันทึกไว้ทางด้านเดบิตของสมุดเงินสดไปทางด้านเครดิตของบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้องในวันที่เกิดรายการนั้นๆ พร้อมทั้งลงเลขที่บัญชีในช่อง อ้างอิง ของสมุดเงินสดและเลขหน้าของสมุดเงินสด (งส.) ในช่อง อ้างอิง ของบัญชีแยกประเภททั่วไป
                3.  ผ่านรายการที่บันทึกไว้ทางด้านเครดิตของสมุดเงินสดไปทางด้านเดบิตของบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้องในวันที่รายการนั้นเกิดขึ้น
                4.  กรณีรายการที่เกี่ยวข้องกับการนำเงินฝากธนาคาร และถอนเงินจากธนาคารทำดังนี้
                                4.1  เมื่อมีการนำเงินสดฝากธนาคาร จะบันทึกในสมุดเงินสด โดยเดบิตเงินฝากธนาคาร และเครดิตเงินสด รายการนี้จะไม่ต้องผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท  เพราะบัญชีเงินสด และบัญชีเงินฝากธนาคารอยู่ในสมุดเล่มเดียวกัน ให้ใส่อักษร C ในช่อง อ้างอิง ซึ่งหมายถึงรายการที่อยู่ตรงข้ามกัน
                                4.2  เมื่อมีการถอนเงินจากธนาคารจะบันทึกในสมุดเงินสดโดยเดบิตเงินสด และเครดิตเงินฝากธนาคาร และรายการนี้ก็ไม่ต้องผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทเช่นเดียวกัน แต่ให้ใส่อักษร C ในช่อง อ้างอิง
                5.  ทุกสิ้นเดือนรวมยอดในแต่ละช่องของสมุดเงินสด และหาผลต่างทางด้านเดบิตและเครดิต เพื่อหายอดคงเหลือยกไปของสมุดเงินสด ซึ่งก็คือยอดคงเหลือของบัญชีเงินสดและบัญชีเงินฝากธนาคาร
 
 
สมุดรายวันเงินสดรับ

                สมุดรายวันเงินสดรับ เป็นสมุดที่ใช้บันทึกรายการค้าทุกรายการที่ได้รับเป็นเงินสด

                วิธีการบันทึกรายการในสมุดรายวันเงินสดรับและการผ่านรายการ
                1.  บันทึกรายการรับเงินสด โดยการบันทึกวันเดือนปี คำอธิบายรายการ จำนวนเงินในช่องเดบิต เงินสด เงินฝากธนาคารหรือส่วนลดจ่ายกรณีรับชำระหนี้และให้ส่วนลด และช่องเครดิตบัญชีต่างๆ ซึ่งในที่นี้จะมีช่องเครดิตเฉพาะบัญชีลูกหนี้การค้า และบัญชีขาย ซึ่งเป็นรายการที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ส่วนรายการรับเงินจากแหล่งอื่น ให้บันทึกจำนวนเงินในช่อง บัญชีอื่นๆ พร้อมชื่อบัญชีที่เครดิตในช่อง ชื่อบัญชี
                2.  ทุกสิ้นวันผ่านรายการรับชำระเงินสดจากลูกหนี้การค้าแต่ละรายการไปทางด้านเครดิตของบัญชีแยกประเภทย่อยลูกหนี้การค้า พร้อมทั้งทำเครื่องหมาย P ในช่อง อ้างอิง ของช่องเครดิตบัญชีลูกหนี้การค้า ในสมุดเงินสดรับและลงเลขหน้าของสมุดเงินสดรับ (สร.) ในช่อง อ้างอิง ของบัญชีแยกประเภทย่อยลูกหนี้การค้า
                3.  ทุกสิ้นวันผ่านรายการที่อยู่ในช่อง บัญชีอื่นๆ ไปยังบัญชีแยกประเภทนั้นๆ พร้อมทั้งลงเลขที่บัญชีในช่อง อ้างอิง ในสมุดเงินสดรับ และลงเลขหน้าของสมุดเงินสดรับ (สร.) ในช่อง อ้างอิง ของบัญชีแยกประเภทนั้นๆ ยกเว้นบัญชีที่ปรากฏอยู่ในช่องบัญชีอื่นๆ คือ บัญชีเงินสด และบัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งเกิดจากการนำเงินฝากธนาคารและถอนเงินจากธนาคาร ไม่ต้องผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท เนื่องจากรายการทั้ง 2 ประเภทต้องบันทึกทั้งในสมุดเงินสดรับ และสมุดเงินสดจ่าย แต่ให้ใส่เครื่องหมาย C ในช่อง อ้างอิง ในบัญชีทั้ง 2 เล่ม หมายถึง ให้ดูรายการที่อยู่ตรงข้ามกัน
                4.  ทุกสิ้นเดือนให้รวมยอดคงเหลือในช่อง เงินสด เงินฝากธนาคาร และส่วนลดจ่าย แล้วผ่านจำนวนเงินรวมไปทางด้านเดบิตของบัญชีแยกประเภทเหล่านี้ และรวมยอดคงเหลือในบัญชีลูกหนี้การค้าและบัญชีขาย แล้วผ่านจำนวนเงินไปทางด้านเครดิตของบัญชีแยกประเภทเหล่านี้ พร้อมทั้งลงเลขที่บัญชีไว้ใต้ช่องยอดรวมในแต่ละช่องของสมุดเงินสดรับและเลขหน้าของสมุดเงินสดรับ (สร.) ในช่อง อ้างอิง ของบัญชีแยกประเภททั่วไป แต่สำหรับยอดรวมเครดิตในช่องบัญชีอื่นๆ ไม่ต้องผ่านรายการในวันสิ้นเดือนอีก เพราะในแต่ละรายการได้ผ่านไปยังบัญชีแยกประเภทในตอนสิ้นวันแล้ว
 
 
สมุดรายวันเงินสดจ่าย

                สมุดรายวันเงินสดจ่าย เป็นสมุดที่ใช้บันทึกรายการค้าทุกรายการที่ได้จ่ายเงินสด

                วิธีการบันทึกรายการในสมุดรายวันเงินสดจ่าย และการผ่านรายการ
                1.  บันทึกรายการจ่ายเงินสด โดยการบันทึกวันเดือนปี คำอธิบายรายการ จำนวนเงินในช่องเครดิต เงินสด เงินฝากธนาคารหรือส่วนลดรับกรณีจ่ายชำระหนี้และได้รับส่วนลด และช่องเดบิตบัญชีต่างๆ ซึ่งในที่นี้จะมีช่องเดบิตเฉพาะบัญชีเจ้าหนี้การค้า และบัญชีซื้อ ซึ่งเป็นรายการที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ส่วนรายการจ่ายเงินจากแหล่งอื่น ให้บันทึกจำนวนเงินในช่อง บัญชีอื่นๆ พร้อมชื่อบัญชีที่เดบิตในช่อง ชื่อบัญชี
2.  ทุกสิ้นวันผ่านรายการจ่ายชำระหนี้ เจ้าหนี้การค้าแต่ละรายการไปทางด้านเดบิตของบัญชีแยกประเภทย่อยเจ้าหนี้การค้า พร้อมทั้งทำเครื่องหมาย P ในช่อง อ้างอิง ของช่องเดบิตบัญชีเจ้าหนี้การค้า ในสมุดเงินสดจ่ายและลงเลขหน้าของสมุดเงินสดจ่าย (สจ.) ในช่อง อ้างอิง ของบัญชีแยกประเภทย่อยเจ้าหนี้การค้า
3.  ทุกสิ้นวันผ่านรายการที่อยู่ในช่อง บัญชีอื่นๆ ไปยังบัญชีแยกประเภทนั้นๆ พร้อมทั้งลงเลขที่บัญชีในช่อง อ้างอิง ในสมุดเงินสดจ่าย และลงเลขหน้าของสมุดเงินสดจ่าย (สจ.1) ในช่อง อ้างอิง ของบัญชีแยกประเภทนั้นๆ ยกเว้นบัญชีที่ปรากฏอยู่ในช่องบัญชีอื่นๆ คือ บัญชีเงินสด และบัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งเกิดจากการนำเงินฝากธนาคารและถอนเงินจากธนาคาร ไม่ต้องผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท เนื่องจากรายการทั้ง 2 ประเภทต้องบันทึกทั้งในสมุดเงินสดรับ และสมุดเงินสดจ่าย แต่ให้ใส่เครื่องหมาย C ในช่อง อ้างอิง ในบัญชีทั้ง 2 เล่ม หมายถึง ให้ดูรายการที่อยู่ตรงข้ามกัน
                4.  ทุกสิ้นเดือนให้รวมยอดคงเหลือในช่อง เงินสด เงินฝากธนาคาร และส่วนลดจ่าย แล้วผ่านจำนวนเงินรวมไปทางด้านเครดิตของบัญชีแยกประเภทเหล่านี้ และรวมยอดคงเหลือในบัญชีเจ้าหนี้การค้าและบัญชีซื้อ แล้วผ่านจำนวนเงินไปทางด้านเดบิตของบัญชีแยกประเภทเหล่านี้ พร้อมทั้งลงเลขที่บัญชีไว้ใต้ช่องยอดรวมในแต่ละช่องของสมุดเงินสดจ่ายและเลขหน้าของสมุดเงินสดจ่าย (สจ.) ในช่อง อ้างอิง ของบัญชีแยกประเภททั่วไป แต่สำหรับยอดรวมเดบิตในช่องบัญชีอื่นๆ ไม่ต้องผ่านรายการในวันสิ้นเดือนอีก เพราะในแต่ละรายการได้ผ่านไปยังบัญชีแยกประเภทในตอนสิ้นวันแล้ว
 
 
การบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป
 
                รายการค้าบางประเภทที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก และไม่สามารถที่นำไปบันทึกในสมุดรายวันเฉพาะเล่มใดเล่มหนึ่งได้ก็จะนำมาบันทึกไว้ในสมุดรายวันทั่วไป รายการเหล่านี้ได้แก่
1.       รายการรับคืนสินค้าที่ขายเป็นเงินเชื่อ และให้ส่วนลดกรณีที่ไม่มีสมุดรายวันรับคืนและส่วนลด
2.       รายการส่งคืนสินค้าที่ซื้อเป็นเงินเชื่อและได้รับส่วนลดกรณีที่ไม่มีสมุดรายวันส่งคืนและส่วนลด
3.       รายการซื้อขายสินทรัพย์เป็นเงินเชื่อ
4.       รายการซื้อขายสินทรัพย์และรับจ่ายเป็นตั๋วเงิน
5.       รายการเบิกสินค้าไปใช้ส่วนตัว
6.       รายการปรับปรุงบัญชี และเปิดบัญชี เป็นต้น
 
 
รายละเอียดลูกหนี้และเจ้าหนี้
 
                ทุกๆ สิ้นเดือนหรือสิ้นงวดบัญชีกิจการควรที่จจะจัดทำรายละเอียดลูกหนี้ และเจ้าหนี้ขึ้นเพื่อให้ทราบว่า ในวันสิ้นงวดกิจการมีลูกหนี้และเจ้าหนี้ค้างชำระทั้งหมดกี่รายเป็นจำนวนเท่าใด และเป็นการพิสูจน์ความถูกต้องของบัญชีคุมยอด และบัญชีแยกประเภทย่อย

ตัวอย่างรายละเอียดลูกหนี้และเจ้าหนี้จากตัวอย่างเดิม
                                                                บริษัท ผจง จำกัด
                                                           รายละเอียดลูกหนี้การค้า
                                                            วันที่ 31 มกราคา 25x1
 
ลำดับที่
ชื่อ
จำนวนเงิน
1
2
รวม
บริษัท สีมา จำกัด
ห้างจอมทอง
77,000
18,800
95,800
 
                ยอดรวมของรายละเอียดลูกหนี้จำนวน 95,800 บาท จะเท่ากับยอดคงเหลือในบัญชีลูกหนี้การค้า
                                                                บริษัท ผจง จำกัด
                                                           รายละเอียดเจ้าหนี้การค้า
                                                            วันที่ 31 มกราคา 25x1
 
ลำดับที่
ชื่อ
จำนวนเงิน
1
2
รวม
บริษัท โรซี่ จำกัด
ร้านสาคร
120,000
10,000
130,000
 
ยอดรวมของรายละเอียดเจ้าหนี้จำนวน 130,000 บาท จะเท่ากับยอดคงเหลือในบัญชีเจ้าหนี้การค้า
 

การบัญชีสำหรับธุรกิจการผลิต

 ธุรกิจการผลิต

                เป็นธุรกิจที่นำวัตถุดิบมาแปรรูปให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปโดยใช้แรงงานและค่าใช้จ่ายการผลิตอื่นๆ ธุรกิจการผลิต จะมีรายการทางบัญชี สำหรับบันทึกต้นทุนการผลิตเพิ่มขั้นนอกเหนือจากรายการด้วยการขายและดำเนินงาน
 
องค์ประกอบของต้นทุนการผลิต

                ประกอบด้วย วัตถุทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต
                วัตถุทางตรง
                หมายถึง วัตถุที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้นโดยตรง และสามารถระบุ ชัดเจนว่าเป็นส่วนสำคัญของการผลิตสินค้า วัตถุทางตรงจะรวมถึงชิ้นส่วนประกอบ ซึ่งจะถูกประกบเป็นผลิตภัณฑ์
                วัตถุทั้งหมดที่ใช้ในกระบวนการผลิตไม่จำเป็นต้องเป็นวัตถุดิบทางตรงทั้งหมด มีวัตถุดิบหลายชนิดที่มีต้นทุนเพียงเล็กน้อย และไม่สามารถระบุเจาะจงลงไปได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของสินค้า ซึ่งวัตถุดิบเหล่านี้ถูกจัดเป็นวัตถุทางอ้อมและจะถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการผลิต
                ค่าแรงทางตรง
                หมายถึง ค่าแรงของคนงานทั้งหมดที่ทำงานในการผลิตสินค้าโดยตรง ค่าแรงงานในโรงงานทั้งหมดก็ไม่ถือเป็นค่าแรงทางตรง ค่าจ้างของพนักงานในกระบวนการผลิตแต่ไม่ได้ทำการผลิตสินค้าโดยตรง จึงถูกจัดประเภทเป็นค่าแรงทางอ้อม และรวมเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิต
                ค่าใช้จ่ายในการผลิต
                หมายถึงต้นทุนในการผลิตทั้งหมดที่ไม่ถูกจัดเป็นประเภทวัตถุทางตรง หรือค่าแรงทางตรง โดยทั่วไปค่าใช้จ่ายในการผลิตรวมถึง
-          วัตถุทางอ้อม
-          ค่าแรงทางอ้อม
-          ค่าสาธารณูปโภค
-          ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษาอุปกรณ์ภายในโรงงาน
-          ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร อาคาร และอุปกรณ์ของโรงงาน
-          ค่าภาษีโรงเรือนอาคารโรงงาน
-          ค่าประกันภัยของเครื่องจักร อุปกรณ์ และอาคารโรงงาน
-          ค่าเช่าอาคารโรงงานหรือเครื่องจักร
 
สินค้าคงเหลือของธุรกิจผลิต

                ธุรกิจผลิตจะมีสินค้าคงเหลือ 3 ชนิด คือ (1) วัตถุดิบคงเหลือ (2) สินค้าระหว่างทำคงเหลือ (3) สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ
                วัตถุดิบคงเหลือ
                หมายถึง ต้นทุนของวัตถุดิบที่มีอยู่ในมือ และเพื่อนำไปใช้ในการผลิต ในบางครั้งวัตถุดิบคงเหลือของธุรกิจหนึ่ง อาจถือเป็นสินค้าสำเร็จรูปของอีกธุรกิจหนึ่งก็ได้
                งานระหว่างทำ
                หมายถึง ต้นทุนของสินค้าที่อยู่ในกระบวนการผลิต ซึ่งยังผลิตไม่เสร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูป
                สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ
                หมายถึงต้นทุนของสินค้าที่ผลิตเสร็จสมบูรณ์แล้ว และพร้อมที่จะนำออกจำหน่าย โดยจะแสดงถึงมูลค่าที่สมบูรณ์ของสินค้าที่อยู่ในมือ ณ วันสิ้นงวด

งบการเงินของธุรกิจผลิต

                งบกำไรขาดทุนของธุรกิจซื้อขายสินค้า และธุรกิจการผลิตจะแตกต่างกันในส่วนของต้นทุนสินค้าขาย
 
บริษัทขายสินค้า
บริษัทผลิตสินค้า
       สินค้าคงเหลือต้นงวด
+    ซื้อสุทธิระหว่างงวด
=    ต้นทุนสินค้าที่มีไว้เพื่อขาย
-     สินค้าคงเหลือปลายงวด
=    ต้นทุนสินค้าที่ขาย
      สินค้าสำเร็จรูปต้นงวด
+    ต้นทุนการผลิตระหว่างงวด
=    ต้นทุนสินค้าที่มีไว้เพื่อขาย
-     สินค้าสำเร็จรูปปลายงวด
=    ต้นทุนสินค้าที่ขาย
 
                การคำนวณต้นทุนผลิตระหว่างงวด จะไม่นำมาแสดงไว้ในงบกำไรขาดทุน แต่จะแสดงแยกไว้ในอีกงบหนึ่งเรียกว่า งบต้นทุนการผลิต
                ต้นทุนการผลิตจะแสดงต้นทุนรวมของสินค้าทุกหน่วยที่ผลิตเสร็จระหว่างงวด โดยเมื่อสินค้าบางหน่วยถูกผลิตเสร็จในงวดนี้ ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ทำการผลิตทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างงวด จากนั้นหักด้วยงานระหว่างทำปลายงวด ก็จะได้ต้นทุนการผลิตของงวดนี้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
  
บริษัท สหการผลิต จำกัด
งบต้นทุนการผลิต
สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25x5

วัตถุดิบ :
                วัตถุดิบคงเหลือ 1 ม.ค.                                                                            760,000
                บวก ซื้อวัตถุดิบ                                                                                    2,625,500
                ต้นทุนวัตถุดิบที่มีไว้เพื่อใช้                                                                   3,385,000
                หัก วัตถุดิบคงเหลือ 31 ธ.ค.                                                                    500,000
                ค้นทุนวัตถุดิบใช้ไป                                                                                                            2,885,000
ค่าแรงทางตรง                                                                                                                                     2,800,000
ค่าใช้จ่ายในการผลิต :
                ค่าแรงทางอ้อม                                                     650,000
                วัตถุดิบทางอ้อมและวัสดุโรงงาน                        486,000
                ค่าเสื่อมราคา-อุปกรณ์โรงงาน                              400,000
                ค่าเสื่อมราคา-อาคารโรงงาน                                300,000
                ค่าสาธารณูปโภค                                                 289,000
                ภาษีเงินได้-ค่าแรงงาน                                         244,000
                ค่าประกันภัย                                                       120,000
                ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา                                118,000
                ภาษีโรงเรือน-อาคารโรงงาน                               100,000
                ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดในโรงงาน                               80,000
                                รวมค่าใช้จ่ายในการผลิต                                                                                     2,787,000
รวมต้นทุนการ ผลิต                                                                                                                             8,472,000
บวก งานระหว่างทำ 1 ม.ค.                                                                                                                   670,000
ต้นทุนการผลิตทั้ง หมด                                                                                                                       9,142,000
หัก งานระหว่างทำ 31 ธ.ค.                                                                                                                    642,000
ต้นทุนสินค้าสำเร็จรูป                                                                                                                          8,500,000
 
 
 งบกำไรขาดทุน
 
บริษัท สหกิจการผลิต จำกัด
งบกำไรขากทุน
สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25x5
 
ขาย                                                                                                         18,620,000
หัก รับคืนและส่วนลด                                                                                120,000
ขาย สุทธิ                                                                                                                                                18,500,000
ต้นทุนสินค้าขาย :
                สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ 1 ม.ค.                                                1,120,000
                บวก ต้นทุนสินค้าสำเร็จรูป                                                    8,500,000
                สินค้าที่มีไว้เพื่อขาย                                                                9,620,000
                หัก สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ 31 ธ.ค.                                          870,000
                ต้นทุนสินค้า ขาย                                                                                                                     8,750,000
กำไรขั้น ต้น                                                                                                                                             9,750,000
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน :
                ค่าใช้จ่ายในการขาย                                                               2,930,000
                ค่าใช้จ่ายในการบริการ                                                          2,570,000
                                รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน                                                                              5,500,000
กำไรจากการดำเนินงาน                                                                                                                         4,250,000
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ :
                ดอกเบี้ย จ่าย                                                                                                                               200,000
กำไรสุทธิก่อนภาษี                                                                                                                                 4,050,000
ภาษีเงินได้นิติบุคคล (30%)                                                                                                                    1,215,000
กำไรสุทธิหลัง ภาษี                                                                                                                                 2,835,000
 
 
งบดุล
 
                ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างงบดุลของธุรกิจการผลิตและธุรกิจซื้อขายสินค้า คือ บัญชีสินค้าคงเหลือ ธุรกิจซื้อขายสินค้าจะมีบัญชีสินค้าคงเหลือบัญชีเดียว ขณะที่ผู้ผลิตจะมีสินค้าคงเหลือ 3 บัญชี ซึ่งได้แก่ วัตถุดิบคงเหลือ งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ ดังตัวอย่างจะแสดงถึงส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียน
บริษัท สหกิจการผลิต จำกัด
งบดุล
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25x5
สินทรัพย์หมุนเวียน
                เงิน สด                                                                                                                                   356,000
                ลูกหนี้การ ค้า                                                                                                                        122,000
                สินค้าคงเหลือ :
                                วัตถุดิบ                                                                                 500,000
                                สินค้าระหว่างผลิต / งานระหว่างทำ                                    642,000
                                สินค้าสำเร็จรูป                                                                     870,000               2,012,000
                ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า                                                                                                         120,000
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน                                                                                                                   3,708,000
 
ระบบบัญชีต้นทุน

                วัตถุประสงค์ที่สำคัญของระบบบัญชีต้นทุน คือ ต้องจัดหาข้อมูลที่จำเป็นในการบริหารเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม และการตัดสินใจ และการกำหนดต้นทุนในการผลิตสินค้าแต่ละหน่วย ซึ่งจะทำได้โดยการรวบรวมต้นทุนทั้งหมดตลอดงวดเวลาหนึ่ง (ปกติ 1 เดือน) แล้วหารด้วยจำนวนของสินค้าที่ผลิตได้ทั้งหมดในงวดนั้น
                เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์จะต้องมีระบบบัญชีต้นทุนอยู่ 2 ประเภท คือ ระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ และระบบบัญชีต้นทุนช่วง ซึ่งระบบบัญชีทั้ง 2 ประเภทจะใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต้นทุนในการผลิตเพื่อหาต้นทุนของสินค้าสำเร็จรูป
 
ระบบต้นทุนงานสั่งทำ
                ระบบต้นทุนงานสั่งทำถูกออกแบบมาเพื่อรวบรวมข้อมูลของบริษัทที่ผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย วิธีนี้ถูกใช้บริษัทที่ผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้าหรือผลิตตามคำสั่งของลูกค้า
                วิธีต้นทุนงานสั่งทำจะเน้นที่งานแต่ละงาน ดังนั้นในการเก็บรวบรวมข้อมูลต้นทุน จะเก็บรวบรวมเป็นงานๆ ไป
 
ระบบต้นทุนช่วง
                ระบบต้นทุนช่วงถูกออกแบบมาเพื่อรวบรวมข้อมูลต้นทุนของกิจการซึ่งมีการผลิตเป็นจำนวนมาก และมีขั้นตอนการผลิตที่ต่อเนื่องเป็นลำดับขั้น ซึ่งต้นทุนแต่ละแผนกจะถูกเก็บรวบรวมโดยแผนกนั้นๆ แยกจากกันมากกว่าที่จะเก็บข้อมูลเป็นงานๆ เหมือนกับต้นทุนงานสั่งทำ ณ วันสิ้นงวดบัญชี ต้นทุนรวมจะเท่ากับจำนวนรวมของต้นทุนทั้งหมดที่ถูกเก็บไว้ในแต่ละแผนก ต้นทุนต่อหน่วยจะถูกคำนวณโดยการนำต้นทุนการผลิตรวมหารด้วยจำนวนของหน่วยที่ผลิต
 
การบันทึกบัญชีสำหรับธุรกิจการผลิต

                การบันทึกบัญชีสำหรับธุรกิจการผลิตเพื่อใช้ในการสะสมต้นทุนมี 2 วิธี คือ การสะสมต้นทุนแบบสิ้นงวดและการสะสมต้นทุนแบบต่อเนื่อง
 
การสะสมต้นทุนแบบสิ้นงวด

                การบันทึกบัญชีจะไม่บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือระหว่างงวดคือ บัญชีวัตถุดิบ งานระหว่างทำและสินค้าสำเร็จรูป แต่จะบันทึกในบัญชีซื้อวัตถุดิบ บัญชีค่าแรงทางตรง และบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตประเภทต่างๆ  ในตอนสิ้นงวดจะมีการตรวจนับวัตถุดิบปลายงวด งานระหว่างทำปลายงวด และสินค้าสำเร็จรูปปลายงวด เพื่อคำนวณหาต้นทุนการผลิต และต้นทุนสินค้าผลิตเสร็จ ซึ่งการบันทึกบัญชีตามวิธีนี้จะไม่ทราบต้นทุนสินค้าขายในทันที แต่จะต้องตรวจนับสินค้าคงเหลือปลายงวดก่อน ดังนั้นการสะสมต้นทุนวิธีนี้จึงไม่เหมาะสำหรับกิจการที่ต้องการใช้ข้อมูลทางการบัญชีต้นทุนไปใช้ในการบริหารงาน แต่ก็เหมาะสมสำหรับกิจกรรมขนาดเล็กที่ไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลในการบริหารงาน
ตัวอย่าง 1
                บริษัท เสรีการผลิต จำกัด เป็นกิจการผลิตแปรสภาพวัตถุดิบ ให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป ในวันที่ 1 ธันวาคม 25x4 ในบัญชีสินค้าคงเหลือ มีดังนี้ วัตถุดิบ 38,000 บาท งานระหว่างทำ 82,000 บาท และสินค้าสำเร็จรูป 45,000 บาท
                ในระหว่างเดือนแผนกจัดซื้อของบริษัทฯ ได้ซื้อวัตถุดิบ เป็นเงินเชื่อทั้งสิ้น 150,000 บาท และแผนกผลิตได้เบิกวัตถุดิบไปใช้ในการผลิตจำนวน 162,000 บาท ค่าแรงที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนมีทั้งสิ้น 282,000 บาท โดยในจำนวนนี้เป็นค่าแรงทางตรง 260,000 บาท และในระหว่างเดือนมีค่าไฟฟ้า จำนวน 3,000 บาท ค่าน้ำประปา 2,500 บาท ค่าเสื่อมราคาโรงงาน 78,000 บาท ค่าเบี้ยประกัน 2,000 บาท และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่นๆ อีก 3,500 บาท สินค้าจำนวน 562,000 บาท ผลิตเสร็จและโอนเข้าคลังสินค้าและขายสินค้า จำนวน 740,000 บาท เป็นเงินเชื่อ สินค้ามีต้นทุนเท่ากับ 532,000 บาท ตรวจนับสินค้าคงเหลือมีดังนี้ วัตถุดิบ 26,500 บาท งานระหว่างทำ 52,500 บาท และสินค้าสำเร็จรูป 75,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเกิดขึ้นจำนวน 85,000 บาท

การบันทึกบัญชีแบบสิ้นงวด

1.  เมื่อซื้อวัตถุดิบ บริษัท เสรีการผลิต จำกัด ซื้อวัตถุดิบทั้งสิ้นเป็นเงินเชื่อ 150,000 บาท บันทึกบัญชีดังนี้
         เดบิต    ซื้อวัตถุดิบ                                                150,000
                เครดิต    เจ้าหนี้การค้า                                                                150,000
  
2.  เมื่อเบิกวัตถุดิบไปใช้ในการผลิต เป็นการเบิกวัตถุดิบทางตรง จำนวน 100,000 บาท และวัตถุดิบทางอ้อม 62,000 บาท
                *** ตามวิธีนี้จะไม่มีการบันทึกบัญชีตอนเบิกวัตถุดิบไปใช้ในการผลิต
3.  ค่าแรงงเกิดขึ้นระหว่างงวด เป็นค่าแรงทางตรง 260,000 บาท เป็นค่าแรงทางอ้อม 22,000 บาท บันทึกบัญชีดังนี้
         เดบิต    ค่าแรง                                                    282,000
                เครดิต    ค่าแรงค้างจ่าย                                                            282,000
 
กระจายค่าแรงเข้างาน บันทึกดังนี้
         เดบิต    ค่าแรงทางตรง                                        260,000
                      ค่าแรงทางอ้อม                                         22,000
                เครดิต    ค่าแรง                                                                        282,000
 
 4.  ค่าใช้จ่ายในการผลิตต่างๆ ที่เกิดขึ้น
                4.1  ค่าใช้จ่ายในการผลิตต่างๆ
         เดบิต    ค่าไฟฟ้า                                                    3,000
                     ค่าน้ำประปา                                              2,500
                     ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด                                     3,500
                เครดิต    เงินสด                                                                           9,000
 
4.2    กรณีค่าเสื่อมราคา บันทึกโดยการปรับปรุง ดังนี้
         เดบิต    ค่าเสื่อมราคา-โรงงาน                              78,000
                เครดิต    ค่าเสื่อมราคาสะสม-โรงงาน                                        78,000
 
กรณีค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
         เดบิต    ค่าเบี้ยประกัน                                            2,000
                เครดิต    ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า                                        2,000
 
5.  โอนบัญชีต้นทุนต่างๆ เข้าบัญชีต้นทุนการผลิต
         เดบิต    ต้นทุนการผลิต                                        641,000
                เครดิต    วัตถุดิบ (ต้นงวด)                                                            38,000
                                งานระหว่างทำ                                                               82,000
                                ซื้อวัตถุดิบ                                                                    150,000
                                ค่าแรงทางตรง                                                              260,000
                                ค่าแรงทางอ้อม                                                               22,000
                                ค่าไฟฟ้า                                                                            3,000
                                ค่าน้ำประปา                                                                     2,500
                                ค่าเบี้ยประกัน                                                                   2,000
                                ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด                                                            3,500
                                ค่าเสื่อมราคา-โรงงาน                                                     78,000
 
  6.  บันทึกคงเหลือที่ตรวจนับได้ในวันสิ้นงวด
             เดบิต    วัตถุดิบทางตรง (ปลายงวด)                26,500
                          งานระหว่างทำ (ปลายงวด)                 52,500
                    เครดิต    ต้นทุนการผลิต                                                             79,000
 
7.  โอนสินค้าที่ผลิตเสร็จเข้าบัญชีสินค้าสำเร็จรูป
             เดบิต    ต้นทุนสินค้าสำเร็จรูป                            562,000
                    เครดิต    ต้นทุนการผลิต                                                            562,000
 
8.       บันทึกการขายสินค้า
             เดบิต    ลูกหนี้/เงินสด                                        740,000
                    เครดิต    ขาย                                                                               740,000
 
*** แต่ตามวิธีนี้ไม่ต้องบันทึกต้นทุนสินค้าขาย
 
การสะสมต้นทุนแบบต่อเนื่อง

                การสะสมต้นทุนโดยวิธีนี้กิจการจะเปิดบัญชีสินค้าคงเหลือ ซึ่งประกอบด้วยบัญชีวัตถุดิบ งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งจะทำให้กิจการทราบการเคลื่อนไหวของสินค้าคงเหลือตลอดเวลาเพื่อให้ฝ่ายบริหารได้ข้อมูลในการวางแผนและควบคุม ตามวิธีนี้จะทำให้กิจการทราบจำนวนสินค้าคงเหลือตลอดเวลา และทราบต้นทุนสินค้าที่ขายโดยดูได้จากบัญชีแยกประเภทของบัญชีดังกล่าว

การบันทึกบัญชีต้นทุนแบบต่อเนื่อง
 
                จะมีบัญชีที่แตกต่างกับการบันทึกบัญชีแบบสิ้นงวด ดังนี้
1.  วัตถุดิบจะบันทึกในบัญชีวัตถุดิบแทนที่จะบันทึกบัญชีซื้อวัตถุดิบ และเมื่อมีการเบิกวัตถุดิบ ก็จะเครดิตออกจากบัญชีวัตถุดิบด้วย
2.   ค่าแรงนั้นบันทึกเช่นเดียวกับการบันทึกแบบสิ้นงวด
3.   ค่าใช้จ่ายการผลิต ตามวิธีนี้ค่าใช้จ่ายการผลิตที่เกิดขึ้นจะรวบรวมไว้ในบัญชีคุมค่าใช้จ่ายการผลิต จากนั้นต้องโอนไปบัญชีงานระหว่างทำ
4. บัญชีงานระหว่างทำจะเป็นบัญชีที่ทำหน้าที่รวบรวมต้นทุนการผลิตซึ่งประกอบด้วย วัตถุทางตรง ค่าแรงทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต เมื่อผลิตภัณฑ์ผลิตเสร็จก็จะโอนไปบัญชีสินค้าสำเร็จรูปส่วนที่เหลืออยู่ก็เป็นงานระหว่างทำปลายงวด
5.  บัญชีสินค้าสำเร็จรูป เป็นบัญชีที่บันทึกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเสร็จ เมื่อสินค้าผลิตเสร็จแต่ยังไม่ขาย บัญชีนี้จะเป็นบัญชีสินทรัพย์ และเมื่อขายสินค้าจะเดบิตต้นทุนสินค้าขาย และเครดิตบัญชีสินค้าสำเร็จรูป
 
การบันทึกบัญชีแบบต่อเนื่อง

1.  เมื่อซื้อวัตถุดิบ
         เดบิต    วัตถุดิบ                                                        150,000
                เครดิต    เจ้าหนี้การค้า                                                                            150,000
  
2.  เมื่อเบิกวัตถุดิบไปใช้ในการผลิต
         เดบิต    งานระหว่างทำ                                            100,000
                       ค่าใช้จ่ายการผลิต                                         62,000
                เครดิต    วัตถุดิบ                                                                                    162,000
 
  3.       ค่าแรงที่เกิดขึ้นในระหว่างงวด
         เดบิต    ค่าแรง                                                          282,000
                เครดิต    ค่าแรงค้างจ่าย                                                                          282,000
 
กระจายค่าแรงไปเป็นค่าแรงทางตรงและค่าแรงทางอ้อม ดังนี้
         เดบิต    งานระหว่างทำ                                            260,000
                      ค่าใช้จ่ายการผลิต                                          22,000
                เครดิต    ค่าแรง                                                                                     282,000
 
 4.  ค่าใช้จ่ายการผลิตต่างๆ
           4.1  กรณีค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จ่ายเป็นเงินสดหรือเงินเชื่อ บันทึกบัญชี ดังนี้
         เดบิต    ค่าใช้จ่ายการผลิต                                            9,000
                เครดิต    เงินสด                                                                                         9,000
 
4.2    กรณีค่าเสื่อมราคา บันทึกโดยการปรับปรุง ดังนี้
         เดบิต    ค่าใช้จ่ายการผลิต                                          78,000
                 เครดิต    ค่าเสื่อมราคาสะสม-โรงงาน                                                    78,000
 
4.3    กรณีค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
         เดบิต    ค่าใช้จ่ายการผลิต                                            2,000
                เครดิต    ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า                                                        2,000
 
5.  โอนบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตเข้าบัญชีคุมงานระหว่างทำ
         เดบิต    งานระหว่างทำ                                            173,000
                เครดิต    ค่าใช้จ่ายการผลิต                                                                    173,000
 
6.       โอนสินค้าที่ผลิตเสร็จเข้าบัญชีสินค้าสำเร็จรูป
         เดบิต    สินค้าสำเร็จรูป                                            562,000
                เครดิต    งานระหว่างทำ                                                                        562,000
 
7.       บันทึกการขายสินค้า
         เดบิต    ลูกหนี้/เงินสด                                            740,000
               เครดิต    ขาย                                                                                            740,000
 
        เดบิต    ต้นทุนสินค้าขาย                                         532,000
            เครดิต    สินค้าสำเร็จรูป                                                                             532,000
  
กระดาษทำการสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรม

                ขั้นตอนการจัดทำกระดาษทำการนั้น จะเหมือนกับการจัดทำกระดาษทำการของธุรกิจซื้อขายสินค้า สิ่งที่แตกต่างกันก็คือบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณต้นทุนการผลิตเท่านั้น โดยในกระดาษทำการจะเพิ่มช่องงบต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นอีก 1 ช่อง
ตัวอย่างการจัดทำกระดาษทำการของธุรกิจการผลิต
บริษัท สยามการผลิต จำกัด
งบทดลองก่อนการปรับปรุง
วันที่ 31 ธันวาคม 25x1
เงินสด                                                                                                   10,500
ลูกหนี้การค้า                                                                                        12,000
วัตถุดิบ (1 ม.ค. 25x1)                                                                            8,000
งานระหว่างทำ (1 ม.ค. 25x1)                                                                7,500
สินค้าสำเร็จรูป (1 ม.ค. 25x1)                                                              11,000
ที่ดิน                                                                                                  400,000
อุปกรณ์สำนักงาน                                                                             100,000
เครื่องจักร                                                                                         260,000
เจ้าหนี้การ ค้า                                                                                                                                        13,300
ตั๋วเงิน จ่าย                                                                                                                                               6,500
ทุนเรือน หุ้น                                                                                                                                        700,000
กำไร สะสม                                                                                                                                           29,300
ขาย                                                                                                                                                     200,000
ซื้อวัตถุดิบ                                                                                         48,000
ค่าแรงทางตรง                                                                                   38,500
ค่าแรงทางอ้อม                                                                                  22,700
ค่าน้ำค่าไฟ โรงงาน                                                                       12,400
ค่าใช้จ่ายในการขาย และบริหาร                                                      18,500                                                     
                                                                                                       949,100                                      949,100
ข้อมูลเพิ่มเติม
1.       คิดค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์สำนักงาน 20% ต่อปี
2.       คิดค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 10% ต่อปี
3.       ค่าน้ำค่าไฟค้างจ่าย 5,000 บาท
4.       สินค้าคงเหลือปลายงวดประกอบด้วย
วัตถุดิบ                                     9,000  บาท
งานระหว่างทำ                       12,500  บาท
สินค้าสำเร็จรูป                       17,000  บาท
กระดาษทำการดังกล่าวเป็นการจัดทำกระดาษทำการกรณีการสะสมต้นทุนแบบสิ้นงวด
 
                                                                                                                    บริษัท สยามการผลิต จำกัด
                                                                                                                             กระดาษทำการ
                                                                                                        สำหรับงวดปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 25x1
 
ชื่อบัญชี
งบทดลอง
รายการปรับปรุง
งบทดลองหลังปรับปรุง
งบต้นทุนการผลิต
งบกำไรขาดทุน
งบดุล
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เงินสด
     10,500
 
 
 
      10,500
 
 
 
 
 
    10,500
 
ลูกหนี้การค้า
     12,000
 
 
 
      12,000
 
 
 
 
 
    12,000
 
วัตถุดิบ
       8,000
 
 
 
        8,000
 
       8,000
 
 
 
 
 
งานระหว่างทำ
       7,500
 
 
 
        7,500
 
       7,500
 
 
 
 
 
สินค้าสำเร็จรูป
     11,000
 
 
 
      11,000
 
 
 
      11,000
 
 
 
ที่ดิน
   400,000
 
 
 
    400,000
 
 
 
 
 
    400,000
 
อุปกรณ์สำนักงาน
   100,000
 
 
 
    100,000
 
 
 
 
 
    100,000
 
เครื่องจักร
   260,000
 
 
 
    260,000
 
 
 
 
 
    260,000
 
เจ้าหนี้การค้า
 
     13,300
 
 
 
      13,300
 
 
 
 
 
      13,300
ตั๋วเงินจ่าย
 
       6,500
 
 
 
        6,500
 
 
 
 
 
        6,500
ทุนเรือนหุ้น
 
   700,000
 
 
 
    700,000
 
 
 
 
 
    700,000
กำไรสะสม
 
     29,300
 
 
 
      29,300
 
 
 
 
 
      29,300
ขาย
 
   200,000
 
 
 
    200,000
 
 
 
 
   
 
ซื้อวัตถุดิบ
     48,000
 
 
 
      48,000
 
     48,000
 
 
 
 
 
ค่าแรงทางตรง
     38,500
 
 
 
      38,500
 
     38,500
 
 
 
 
 
ค่าแรงทางอ้อม
     22,700
 
 
 
      22,700
 
     22,700
 
 
 
 
 
ค่าน้ำค่าไฟ-โรงงาน
     12,400
 
     5,000l
 
      17,400
 
     17,400
 
 
 
 
 
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
     18,500
 
 
 
      18,500
 
 
 
      18,500
 
 
 
 
   949,100
   949,100
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ค่าเสื่อมราคา-อุปกรณ์สำนักงาน
 
 
   20,000j
 
      20,000
 
 
 
      20,000
 
 
 
ค่าเสื่อมราคาสะสม-อุปกรณ์สำนักงาน
 
 
 
   20,000j
 
     20,000
 
 
 
 
 
     20,000
ค่าเสื่อมราคา-เครื่องจักร
 
 
  26,000k
 
      26,000
 
     26,000
 
 
 
 
 
ค่าเสื่อมราคาสะสม-เครื่องจักร
 
 
 
   26,000k
 
     26,000
 
 
 
 
 
     26,000
ค่าน้ำค่าไฟค้างจ่าย
 
 
 
     5,000l
 
       5,000
 
 
 
 
 
       5,000
 
 
 
  51,000
   51,000
 1,000,100
1,000,100
 
 
 
 
 
 
สินค้าคงเหลือ 31 ธ.ค. 25x1
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
        สินค้าสำเร็จรูป
 
 
 
 
 
 
 
 
 
     17,000
 
 
        งานระหว่างทำ
 
 
 
 
 
 
 
     12,500
 
 
     12,500
 
        วัตถุดิบ
 
 
 
 
 
 
 
       9,000
 
 
       9,000
 
 
 
 
 
 
 
 
   168,100
     21,500
 
 
 
 
        ต้นทุนสินค้าสำเร็จรูป
 
 
 
 
 
 
 
   146,600
    146,600
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   168,100
   168,100
    196,100
   217,000
 
 
กำไรสุทธิ
 
 
 
 
 
 
 
 
      20,900
 
 
     20,900
 
 
 
 
 
 
 
 
 
    217,000
   217,000
   821,000
   821,000

การปิดบัญชีของธุรกิจการผลิต

                ทำการปิดบัญชีเมื่อตอนสิ้นงวด ในสมุดรายวันทั่วไป และผ่านไปยังสมุดบัญชีแยกประเภท ดังนี้
1.       ปิดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณต้นทุนการผลิต เข้าบัญชีต้นทุนการผลิต
2.       บันทึกบัญชีงานระหว่างทำ และวัตถุดิบคงเหลือ
3.       ปิดบัญชีต้นทุนการผลิต และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเข้าบัญชีสรุปผลกำไรขาดทุน
4.       บันทึกบัญชีสินค้าสำเร็จรูป และปิดบัญชีขายเข้าบัญชีสรุปผลกำไรขาดทุน
5.       ปิดบัญชีสรุปผลกำไรขาดทุนเข้าบัญชีกำไรสะสม

การปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป มีดังนี้

        จากตัวอย่าง บริษัท สยามการผลิต จำกัด

25x1
ธ.ค.  31    เดบิต    ต้นทุนการผลิต                                    168,100
                        เครดิต    วัตถุดิบ (ต้นงวด)                                                            8,000
                                        งานระหว่างทำ (ต้นงวด)                                               7,500
                                        ซื้อวัตถุดิบ                                                                   48,000
                                        ค่าแรงทางตรง                                                             38,500
                                        ค่าแรงทางอ้อม                                                            22,700
                                        ค่าน้ำค่าไฟ                                                                  17,400
                                        ค่าเสื่อมราคา-เครื่องจักร                                              26,000

                เดบิต    งานระหว่างทำ (ปลายงวด)                    12,500
                             วัตถุดิบ (ปลายงวด)                                 9,000
                        เครดิต    ต้นทุนการผลิต                                                              21,500

                เดบิต    สรุปผลกำไรขาดทุน                                196,100
                        เครดิต    สินค้าสำเร็จรูป (ต้นงวด)                                                11,000
                                       ต้นทุนการผลิต                                                             146,600
                                       ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร                                      18,500
                                       ค่าเสื่อมราคา-อุปกรณ์สำนักงาน                                     20,000

                เดบิต    สินค้าสำเร็จรูป (ปลายงวด)                         17,000
                            ขาย                                                             200,000
                        เครดิต    สรุปผลกำไรขาดทุน                                                      217,000

                เดบิต    สรุปผลกำไรขาดทุน                                    20,900
                        เครดิต    กำไรสะสม                                                                       20,900

 สรุป
                ธุรกิจการผลิต เป็นธุรกิจที่นำวัตถุดิบมาแปรรูปให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป โดยใช้แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการผลิต องค์ประกอบของต้นทุนการผลิตประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต สินค้าคงเหลือในธุรกิจการผลิต ประกอบด้วย 3 ชนิด คือ วัตถุดิบคงเหลือ งานระหว่างทำคงเหลือ และสินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ งบการเงินของธุรกิจการผลิต จะมีงบต้นทุนการผลิต เพื่อแสดงการคำนวณต้นทุนสินค้าสำเร็จรูป การบันทึกบัญชีสำหรับธุรกิจการผลิต เพื่อใช้ในการสะสมต้นทุนมี 2 วิธี คือ การสะสมต้นทุนแบบสิ้นงวด และการสะสมต้นทุนแบบต่อเนื่อง