วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

รายงานทางการเงิน

รายการทางบัญชี
1.       สินทรัพย์ (Assets) หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ เป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต  ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.1          สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) หมายถึงสินทรัพย์ที่กิจการมีไว้ในการหมุนเวียนของเงินทุนปกติ สินทรัพย์จะจัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนเมื่อ
-          สินทรัพย์นั้นเป็นเงินสดซึ่งไม่มีข้อจำกัดในการใช้
-          กิจการมีวัตถุประสงค์หลักที่จะถือสินทรัพย์ไว้เพื่อการค้า หรือถือไว้ในระยะสั้น
-          กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์นั้น
ตัวอย่างรายการของสินทรัพย์หมุนเวียน ได้แก่ เงินสด, เงินลงทุนระยะสั้น (เช่น หุ้นสามัญ, หุ้นบุริมสิทธิ),  ลูกหนี้การค้า,  สินค้าคงเหลือ, ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า,  ตั๋วเงินรับ
1.2          สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non – Current Assets) เป็นทรัพยากรที่กิจการมีไว้ในครอบครองที่มีอายุให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจนานกว่า 1 รอบระยะเวลาการดำเนินงาน โดยแบ่งเป็นประเภทได้ คือ
·       สินทรัพย์ที่มีตัวตน (Tangible Assets)
·       สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)
ตัวอย่างรายการของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ได้แก่ เงินลงทุนระยะยาว, ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์,  สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
2.       หนี้สิน (Liability) หมายถึง เป็นภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการโดยจะเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต  ซึ่งจะทำให้กิจการเสียทรัพย์ในอนาคต โดยการจ่ายคืนภาระผูกพันนั้น รายการหนี้สินต้องมีลักษณะดังนี้
-          เป็นภาระผูกพันในปัจจุบัน
-          เป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต
-          คาดว่าจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต
หนี้สินสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ
2.1          หนี้สินหมุนเวียน  (Current Liability) หมายถึงหนี้สินที่จะถึงกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล นอกจากนี้ยังรวมถึงหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี
ตัวอย่างของรายการที่จัดเป็นหนี้สินหมุนเวียน ได้แก่ เงินกู้ยืมจากธนาคารและเงินกู้ยืมอื่น, ส่วนของหนี้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี, เจ้าหนี้การค้า และเจ้าหนี้อื่น, ภาษี และค่าใช้จ่ายค้างจ่าย, เงินปันผลค้างจ่าย, รายได้รอการตัดบัญชี, เงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า, หนี้สินโดยประมาณ
2.2          หนี้สินไม่หมุนเวียน  (Non - Current Liability) เป็นหนี้สินที่ไม่สามารถจัดอยู่ในประเภทของหนี้สินหมุนเวียนได้ และยังรวมถึงหนี้สินที่ไม่ถึงกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล
ตัวอย่างของรายการที่จัดเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน ได้แก่ หุ้นกู้, ตั๋วเงินจ่าย, ภาษีเงินได้รอ,การตัดบัญชี, หนี้สินตามสัญญาเช่า
หนี้สินไม่หมุนเวียนโดยทั่วไปจะเกิดได้ 3 รูปแบบ
1.       การเกิดหนี้สินไม่หมุนเวียนจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ
2.       การเกิดหนี้สินไม่หมุนเวียนจากการจัดหาเงิน
3.       การเกิดหนี้สินไม่หมุนเวียนที่เหตุการณ์ดังกล่าวอาจมีโอกาสเกิดหรือไม่มีโอกาสก็ได้ (โดยขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคต)
3. ส่วนของเจ้าของ (Stockholder’s Equity) หมายถึงส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลักจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว การแสดงรายละเอียดจะขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจในหัวข้อของการนำเสนองบดุล เช่น ทุน เงินถอน ทุนเรือนหุ้น กำไรสะสม เป็นต้น
4. รายได้ (Revenue) หมายถึงการเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปของกระแสเข้าหรือการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน จะทำให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขั้น แต่ไม่รวมเงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของ ใช้เกณฑ์การพิจารณาดังนี้
1.       ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
2.       กระแสเข้าหรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์
3.       การลดลงของหนี้สิน
4.       ส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น
5.       ไม่รวมเงินลงทุนที่ได้รับจากผู้เป็นเจ้าของ
5. ค่าใช้จ่าย (Expense) หมายถึงการลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปของกระแสออก หรือการลดลงของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน ซึ่งทำให้ส่วนของเจ้าของลดลง แต่จะไม่รวมการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้เป็นเจ้าของ ใช้เกณฑ์การพิจารณาดังนี้
1.       การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
2.       กระแสออกหรือการลดลงของสินทรัพย์
3.       การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน
4.       ส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง
5.       ไม่รวมการแบ่งปันส่วนที่ให้กับผู้เป็นเจ้าของ
ค่าใช้จ่ายสามารถจำแนกเป็น ต้นทุนขาย หรือต้นทุนการให้บริการ, ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร, ค่าใช้จ่ายอื่น
ทุน หรือส่วนของเจ้าของ
                การจัดประเภทในบัญชีทุนจะแตกต่างกันตามประเภทของกิจการต่างๆ ดังนี้
                1. กิจการเจ้าของคนเดียว ในส่วนของเจ้าของกิจการ ประกอบด้วยผลรวมของเงินลงทุน เงินถอนทุน ผลกำไรและขาดทุน
ในส่วนของเจ้าของกิจการในแต่ละปีเมื่อมีกำไรสุทธิประจำปีจะแสดง ดังนี้
 
ส่วนของเจ้าของกิจการ                                                                                                       บาท
                ทุน-นายโดม (1 มกราคม 25x1)                         100,000
                บวก กำไรสุทธิปี 25x1                                         10,000                                 110,000
แต่ถ้าในระหว่างปีเจ้าของกิจการได้ถอนเงินสดหรือสินทรัพย์ของกิจการไปใช้ส่วนตัว ซึ่งทำให้ส่วนของเจ้าของกิจการลดลง จะต้องนำไปหักในส่วนของเจ้าของกิจการ ดังนี้
ส่วนของเจ้าของกิจการ                                                                                                        บาท
                ทุน-นายโดม (1 มกราคม 25x1)        100,000
                บวก กำไรสุทธิปี 25x1                         10,000                    110,000
                หัก เงินถอนทุน                                                                     20,000                 90,000
ถ้าในระหว่างปีเจ้าของได้นำเงินมาลงทุนเพิ่ม จะทำให้ส่วนของเจ้าของกิจการเพิ่มขึ้น ก็ต้องนำมาหักในส่วนของเจ้าของกิจการ ดังนี้
ส่วนของเจ้าของกิจการ                                                                                                       บาท
                ทุน-นายโดม (1 มกราคม 25x1)        100,000
                บวก กำไรสุทธิปี 25x1                         10,000                
                        เงินลงทุนเพิ่ม                                30,000                   140,000
                หัก   เงินถอนทุน                                                                   20,000                 120,000
                2. กิจการห้างหุ้นส่วน ส่วนของเจ้าของกิจการเป็นผลรวมของทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ซึ่งทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน ประกอบด้วยผลรวมของเงินลงทุน เงินถอน และส่วนแบ่งผลกำไรและขาดทุน
                ในการบันทึกในส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วนบันทึกได้ 2 วิธีคือ
                1. วิธีทุนคงที่ จะบันทึกเฉพาะรายการ การลงทุน การลดทุน และการลงทุนเพิ่มเท่านั้น ฉะนั้นจะมีบัญชีที่เกี่ยวกับบัญชีทุน 2 บัญชี คือ บัญชีทุน และบัญชีกระแสทุน
                การแสดงรายการจะเป็นดังนี้
                ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน                                                                                                       บาท
                                ทุน- นายอรุณ                                       40,000
                                ทุน- นายแสวง                                     10,000                   50,000
                                กระแสทุน- นายอรุณ                             4,000
                                กระแสทุน- นายแสวง                           1,000                      5,000                    55,000
                2. วิธีทุนไม่คงที่ ตามวิธีนี้ การบันทึกบัญชีในบัญชีทุนจะบันทึกทุกรายการที่กระทบกระเทือนกับทุน
               
                การแสดงรายการจะเป็นดังนี้
                ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน                                                                                                       บาท
                                ทุน- นายอรุณ                                       44,000
                                ทุน- นายแสวง                                     11,000                                                   88,000
                3. กิจการบริษัทจำกัด บริษัทจำกัด มี 2 ประเภท คือ บริษัทเอกชน จำกัด และบริษัทมหาชน จำกัด ทุนของบริษัทเอกชน จำกัดหรือบริษัทมหาชน จำกัด เรียกว่า ส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนเงินที่ผู้ถือหุ้นมาลง เรียกว่า บัญชีทุนเรือนหุ้น กิจการในรูปบริษัทออกจำหน่ายหุ้นในราคาตามมูลค่า หรือราคาสูงกว่ามูลค่าหุ้น ในกรณีบริษัทมหาชน จำกัด อาจจำหน่ายหุ้นในราคาต่ำกว่ามูลค่าหุ้นด้วย ถ้าจำหน่ายหุ้นในราคาที่สูงกว่ามูลค่าหุ้น จะบันทึกไว้ในบัญชีส่วนเกินมูลค่าหุ้น และเมื่อบริษัทมีกำไรหรือขาดทุนจะบันทึกไว้ในบัญชีกำไรสะสมหรือขาทุนสะสม กรณีบริษัทมีกำไรมากก็จะจ่ายผลตอบแทนกลับไปให้ผู้ถือหุ้นเรียกว่า เงินปันผล หรือนำไปตั้งเป็นสำรองต่างๆ
               
การแสดงรายการส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นดังนี้
ส่วนของผู้ถือ หุ้น                                                                                                                                   
                ทุนเรือนหุ้น-หุ้นบุริมสิทธิ์ 8%                               500,000
                ทุนเรือนหุ้น-หุ้นสามัญ                                          400,000
                ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ                                       100,000
                กำไรสะสม                                                             40,000                                 1,040,000
งบการเงิน
                งบการเงิน คือ รายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อวัดผลการดำเนินงานของกิจการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง งบการเงินที่สำคัญประกอบด้วย
  1)      งบกำไรขาดทุน หมายถึงงบการเงินที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยแสดงรายได้หักค่าใช้จ่าย แล้วอยู่ในรูปของกำไรหรือขาดทุน ถ้ารายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายคือกำไร ถ้าค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้คือขาดทุน
   
 
                         2)      งบดุล หมายถึงงบการเงินที่แสดงฐานะของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง โดยแสดงสินทรัพย์ที่กิจการเป็นจ้าของ แสดงหนี้สินที่กิจการต้องจ่ายชำระ และแสดงส่วนของเจ้าของที่กิจการเป็นเจ้าของ รวมทั้งส่วนที่เจ้าของนำมาลงทุน
   
 
                         3)      งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น หมายถึงงบการเงินที่แสดงทั้งการเปลี่ยนแปลงของผู้เป็นเจ้าของ ถ้าเป็นกิจการเจ้าของคนเดียว จะประกอบด้วยบัญชีทุน และบัญชีเงินถอน หากเป็นกิจการห้างหุ้นส่วน จะประกอบด้วยบัญชีทุนและบัญชีเดินสะพัดของหุ้นส่วนแต่ละคน ถ้าเป็นกิจการบริษัทจำกัด จะเรียกว่างบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนของเจ้าของจะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการเพิ่มทุน ถอนทุน กำไร ขาดทุน และแบ่งผลตอบแทนคืนแก่เจ้าของ และในทางปฏิบัติกิจการในรูปบริษัทอาจจะมีงบกำไร (ขาดทุน) สะสมเพื่อแสดงรายละเอียดของการเพิ่มขึ้นและลดลงในระหว่างปีของกำไรสะสม
4)      งบกระแสเงินสด หมายถึงงบการเงินที่แสดงการเคลื่อนไหวของเงินสดและรายการที่เทียบเท่าเงินสดของกิจการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง งบกระแสเงินสดจะแสดงเงินสดที่ได้รับและจ่ายออกไปที่เกิดขึ้นตาม 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุนและกิจกรรมจัดหาเงิน
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของงบการเงินทั้ง 4 ชนิด ของกิจการเจ้าของคนเดียว
 
พิทักษ์การพิมพ์
งบกำไรขาดทุน
สำหรับงวด 1 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 25x1
                                                                                                                หน่วย : บาท
รายได้ บริการ                                                                                                                        47,000
หัก          ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน                                                          
                ค่าสาธารณูปโภค                                                                 2,000
                ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด                                                               2,500
                ค่าเช่า                                                                                     6,000                     
                เงินเดือน                                                                               9,000                      19,500
กำไร สุทธิ                                                                                                                              27,500
พิทักษ์การพิมพ์
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ
สำหรับงวด 1 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 25x1
                                                                                                                                                                                                                                                                                                   หน่วย : บาท
            ทุน- นายพิทักษ์ วันที่ 1 เมษายน                                                                                     -0-
บวก     ลงทุน                                                                                     150,000
             กำไรสุทธิ                                                                                27,500                        177,500
                รวม                                                                                                                         177,500
หัก       เงินถอน                                                                                                                        13,000
                ทุน- นายพิทักษ์ วันที่ 30 เมษายน                                                                           164,500
พิทักษ์การพิมพ์
งบดุล
ณ วันที่ 30 เมษายน 25x1
                                                                                                                                                หน่วย : บาท
                สินทรัพย์
เงิน สด                                                                                                                                                   80,500
ลูกหนี้การค้า                                                                                                                                         14,000
วัสดุบริการ                                                                                                                                            16,000
อุปกรณ์สำนักงาน                                                                                                                                 70,000
รวมสินทรัพย์                                                                                                                                       180,500
                หนี้สินและส่วนของเจ้าของ
เจ้าหนี้การ ค้า                                                                                                                                        16,000
ทุน- นายพิทักษ์                                                                                                                                  164,500
รวมหนี้สินและส่วนของเจ้าของ                                                                                                        180,500
 
พิทักษ์การพิมพ์
งบดุล
สำหรับงวด 1 เดือน สิ้นสุด 30 เมษายน 25x1
                                          หน่วย : บาท
กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน
                เงินสดรับจากรายได้                                                           33,000
                เงินสดจ่ายสำหรับค่าใช้จ่าย                                              (19,500)
                เงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน                                                                                           13,500
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
                ซื้ออุปกรณ์                                                                                                                        (70,000)
กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน
                เงินลงทุน                                                                           150,000
                เงินถอน                                                                              (13,000)                                137,000
เงินสดเพิ่มขึ้น สุทธิ                                                                                                                             80,500
เงินสด ณ วันต้นงวด                                                                                                                          ---0 ---
เงินสด ณ วันสิ้นงวด                                                                                                                          80,500
ตัวอย่าง งบการเงินของกิจการที่เป็นบริษัท จำกัด
บริษัท อีซี่โก จำกัด
งบกำไรขาดทุน
สำหรับงวดปี สิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 25x5
           หน่วย : บาท
รายได้
                รายได้ค่าบริการ                                                                                                                   1,500,000
                เงินปันผล รับ                                                                                                                           120,000
                ดอกเบี้ย รับ                                                                                                                                70,000
                รวมราย ได้                                                                                                                            1,690,000
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
                เงินเดือน                                                                                250,000
                ค่าเช่า                                                                                     144,000
                ค่าโทรศัพท์                                                                              36,000
                ค่าสาธารณูปโภค                                                                     40,000
                ค่ายานพาหนะ                                                                        100,000
                ค่าเสื่อมราคา-อาคาร                                                               120,000
                ค่าเสื่อราคา-อุปกรณ์                                                               240,000
                ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด                                                                    50,000
                                รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน                                                                             980,000
                กำไรสุทธิก่อนหักภาษีเงินได้                                                                                                 710,000
                ภาษีเงินได้ 30%                                                                                                                     213,000
กำไร สุทธิ                                                                                                                                               497,000
 
  
บริษัท อีซี่โก จำกัด
งบดุล
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25x5
                                                                                                                                                 หน่วย : บาท
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน
                เงินสด                                                                                      120,000
                ตั๋วเงินรับ                                                                                   70,000
                ลูกหนี้การค้า                                                                           300,000
                ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่งหน้า                                                          80,000
                                รวมสินทรัพย์หมุนเวียน                                                                                     570,000
เงินลงทุนระยะยาว
                เงินลงทุนในหุ้นสามัญ                                                         100,000
                เงินลงทุนในหุ้นกู้                                                                  150,000
                          รวมเงินลงทุนระยะยาว                                                                                            250,000
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
                ที่ดิน                                                                                          250,000
                อาคาร                                                      1,200,000
                หัก  ค่าเสื่อมราคาสะสม-อาคาร                  120,000               1,080,000
                อุปกรณ์สำนักงาน                                   1,200,000
                หัก  ค่าเสื่อมราคาสะสม-อุปกรณ์               240,000                   960,000            
                          รวมที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์                                                                                      2,290,000
สินทรัพย์ อื่น                                                                                                                                           
                ลิขสิทธิ์                                                                                                                                     200,000
รวมสินทรัพย์                                                                                                                                         3,310,000
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน
                ตั๋วเงินจ่าย                                                                                 340,000
                เจ้าหนี้การค้า                                                                             400,000
                เงินเดือนค้างจ่าย                                                                         63,000
                รวมหนี้สินหมุนเวียน                                                                                                               803,000
หนี้สินระยะยาว
                เงินกู้ จำนอง                                                                                                                              800,000
ส่วนของผู้ถือหุ้น
                ทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท
                ทุนที่ออกจำหน่ายและเรียกชำระแล้ว                                 1,000,000
                ส่วนเกินมูลค่าหุ้น                                                                  200,000
                กำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรร                                                 507,000
                รวมส่วนของผู้ถือหุ้น                                                                                                          1,707,000
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น                                                                                                        3,310,000
บริษัท อีซี่โก จำกัด
งบกำไร (ขาดทุน) สะสม
สำหรับงวดปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25x5
                                                                                                                                                     หน่วย : บาท
กำไรสะสมยกมา                                                                                                                                      210,000
บวก  กำไรสุทธิประจำงวด                                                                                                                      497,000
                รวม                                                                                                                                          707,000
หัก    เงินปัน ผล                                                                                                                                       200,000
กำไรสะสมยกไป                                                                                                                     507,000
บริษัท อีซี่โก จำกัด
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น
สำหรับงวดปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 25x5
                                                                                                                                                                หน่วย : บาท
ทุนเรือนหุ้น
                ยอดยกมาต้น ปี                                                                                                                          600,000
                เพิ่มขึ้นระหว่างปี                                                                                                                      400,000
                ลดลงระหว่าง ปี                                                                                                                              - ___
                ยอดยกไปปลายปี                                                                                                                   1,000,000
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น              
                ยอดยกมาต้น ปี                                                                                                                            80,000
                เพิ่มขึ้นระหว่างปี                                                                                                                      120,000
                ลดลงระหว่าง ปี                                                                                                                             - ___
                ยอดยกไปปลายปี                                                                                         200,000
กำไรสะสม (ขาดทุน) ที่ยังไม่ได้จัดสรร
                ยอดยกมาต้น ปี                                                                                                                           210,000
                เพิ่มขึ้นระหว่างปี                                                                                                                       497,000
                ลดลงระหว่าง ปี                                                                                                                         200,000
                ยอดยกไปปลายปี                                                                                         507,000
รวมส่วนของผู้ถือ หุ้น                                                                                                                              1,707,000

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น