วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การบัญชีสำหรับธุรกิจการผลิต

 ธุรกิจการผลิต

                เป็นธุรกิจที่นำวัตถุดิบมาแปรรูปให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปโดยใช้แรงงานและค่าใช้จ่ายการผลิตอื่นๆ ธุรกิจการผลิต จะมีรายการทางบัญชี สำหรับบันทึกต้นทุนการผลิตเพิ่มขั้นนอกเหนือจากรายการด้วยการขายและดำเนินงาน
 
องค์ประกอบของต้นทุนการผลิต

                ประกอบด้วย วัตถุทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต
                วัตถุทางตรง
                หมายถึง วัตถุที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้นโดยตรง และสามารถระบุ ชัดเจนว่าเป็นส่วนสำคัญของการผลิตสินค้า วัตถุทางตรงจะรวมถึงชิ้นส่วนประกอบ ซึ่งจะถูกประกบเป็นผลิตภัณฑ์
                วัตถุทั้งหมดที่ใช้ในกระบวนการผลิตไม่จำเป็นต้องเป็นวัตถุดิบทางตรงทั้งหมด มีวัตถุดิบหลายชนิดที่มีต้นทุนเพียงเล็กน้อย และไม่สามารถระบุเจาะจงลงไปได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของสินค้า ซึ่งวัตถุดิบเหล่านี้ถูกจัดเป็นวัตถุทางอ้อมและจะถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการผลิต
                ค่าแรงทางตรง
                หมายถึง ค่าแรงของคนงานทั้งหมดที่ทำงานในการผลิตสินค้าโดยตรง ค่าแรงงานในโรงงานทั้งหมดก็ไม่ถือเป็นค่าแรงทางตรง ค่าจ้างของพนักงานในกระบวนการผลิตแต่ไม่ได้ทำการผลิตสินค้าโดยตรง จึงถูกจัดประเภทเป็นค่าแรงทางอ้อม และรวมเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิต
                ค่าใช้จ่ายในการผลิต
                หมายถึงต้นทุนในการผลิตทั้งหมดที่ไม่ถูกจัดเป็นประเภทวัตถุทางตรง หรือค่าแรงทางตรง โดยทั่วไปค่าใช้จ่ายในการผลิตรวมถึง
-          วัตถุทางอ้อม
-          ค่าแรงทางอ้อม
-          ค่าสาธารณูปโภค
-          ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษาอุปกรณ์ภายในโรงงาน
-          ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร อาคาร และอุปกรณ์ของโรงงาน
-          ค่าภาษีโรงเรือนอาคารโรงงาน
-          ค่าประกันภัยของเครื่องจักร อุปกรณ์ และอาคารโรงงาน
-          ค่าเช่าอาคารโรงงานหรือเครื่องจักร
 
สินค้าคงเหลือของธุรกิจผลิต

                ธุรกิจผลิตจะมีสินค้าคงเหลือ 3 ชนิด คือ (1) วัตถุดิบคงเหลือ (2) สินค้าระหว่างทำคงเหลือ (3) สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ
                วัตถุดิบคงเหลือ
                หมายถึง ต้นทุนของวัตถุดิบที่มีอยู่ในมือ และเพื่อนำไปใช้ในการผลิต ในบางครั้งวัตถุดิบคงเหลือของธุรกิจหนึ่ง อาจถือเป็นสินค้าสำเร็จรูปของอีกธุรกิจหนึ่งก็ได้
                งานระหว่างทำ
                หมายถึง ต้นทุนของสินค้าที่อยู่ในกระบวนการผลิต ซึ่งยังผลิตไม่เสร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูป
                สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ
                หมายถึงต้นทุนของสินค้าที่ผลิตเสร็จสมบูรณ์แล้ว และพร้อมที่จะนำออกจำหน่าย โดยจะแสดงถึงมูลค่าที่สมบูรณ์ของสินค้าที่อยู่ในมือ ณ วันสิ้นงวด

งบการเงินของธุรกิจผลิต

                งบกำไรขาดทุนของธุรกิจซื้อขายสินค้า และธุรกิจการผลิตจะแตกต่างกันในส่วนของต้นทุนสินค้าขาย
 
บริษัทขายสินค้า
บริษัทผลิตสินค้า
       สินค้าคงเหลือต้นงวด
+    ซื้อสุทธิระหว่างงวด
=    ต้นทุนสินค้าที่มีไว้เพื่อขาย
-     สินค้าคงเหลือปลายงวด
=    ต้นทุนสินค้าที่ขาย
      สินค้าสำเร็จรูปต้นงวด
+    ต้นทุนการผลิตระหว่างงวด
=    ต้นทุนสินค้าที่มีไว้เพื่อขาย
-     สินค้าสำเร็จรูปปลายงวด
=    ต้นทุนสินค้าที่ขาย
 
                การคำนวณต้นทุนผลิตระหว่างงวด จะไม่นำมาแสดงไว้ในงบกำไรขาดทุน แต่จะแสดงแยกไว้ในอีกงบหนึ่งเรียกว่า งบต้นทุนการผลิต
                ต้นทุนการผลิตจะแสดงต้นทุนรวมของสินค้าทุกหน่วยที่ผลิตเสร็จระหว่างงวด โดยเมื่อสินค้าบางหน่วยถูกผลิตเสร็จในงวดนี้ ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ทำการผลิตทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างงวด จากนั้นหักด้วยงานระหว่างทำปลายงวด ก็จะได้ต้นทุนการผลิตของงวดนี้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
  
บริษัท สหการผลิต จำกัด
งบต้นทุนการผลิต
สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25x5

วัตถุดิบ :
                วัตถุดิบคงเหลือ 1 ม.ค.                                                                            760,000
                บวก ซื้อวัตถุดิบ                                                                                    2,625,500
                ต้นทุนวัตถุดิบที่มีไว้เพื่อใช้                                                                   3,385,000
                หัก วัตถุดิบคงเหลือ 31 ธ.ค.                                                                    500,000
                ค้นทุนวัตถุดิบใช้ไป                                                                                                            2,885,000
ค่าแรงทางตรง                                                                                                                                     2,800,000
ค่าใช้จ่ายในการผลิต :
                ค่าแรงทางอ้อม                                                     650,000
                วัตถุดิบทางอ้อมและวัสดุโรงงาน                        486,000
                ค่าเสื่อมราคา-อุปกรณ์โรงงาน                              400,000
                ค่าเสื่อมราคา-อาคารโรงงาน                                300,000
                ค่าสาธารณูปโภค                                                 289,000
                ภาษีเงินได้-ค่าแรงงาน                                         244,000
                ค่าประกันภัย                                                       120,000
                ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา                                118,000
                ภาษีโรงเรือน-อาคารโรงงาน                               100,000
                ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดในโรงงาน                               80,000
                                รวมค่าใช้จ่ายในการผลิต                                                                                     2,787,000
รวมต้นทุนการ ผลิต                                                                                                                             8,472,000
บวก งานระหว่างทำ 1 ม.ค.                                                                                                                   670,000
ต้นทุนการผลิตทั้ง หมด                                                                                                                       9,142,000
หัก งานระหว่างทำ 31 ธ.ค.                                                                                                                    642,000
ต้นทุนสินค้าสำเร็จรูป                                                                                                                          8,500,000
 
 
 งบกำไรขาดทุน
 
บริษัท สหกิจการผลิต จำกัด
งบกำไรขากทุน
สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25x5
 
ขาย                                                                                                         18,620,000
หัก รับคืนและส่วนลด                                                                                120,000
ขาย สุทธิ                                                                                                                                                18,500,000
ต้นทุนสินค้าขาย :
                สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ 1 ม.ค.                                                1,120,000
                บวก ต้นทุนสินค้าสำเร็จรูป                                                    8,500,000
                สินค้าที่มีไว้เพื่อขาย                                                                9,620,000
                หัก สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ 31 ธ.ค.                                          870,000
                ต้นทุนสินค้า ขาย                                                                                                                     8,750,000
กำไรขั้น ต้น                                                                                                                                             9,750,000
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน :
                ค่าใช้จ่ายในการขาย                                                               2,930,000
                ค่าใช้จ่ายในการบริการ                                                          2,570,000
                                รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน                                                                              5,500,000
กำไรจากการดำเนินงาน                                                                                                                         4,250,000
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ :
                ดอกเบี้ย จ่าย                                                                                                                               200,000
กำไรสุทธิก่อนภาษี                                                                                                                                 4,050,000
ภาษีเงินได้นิติบุคคล (30%)                                                                                                                    1,215,000
กำไรสุทธิหลัง ภาษี                                                                                                                                 2,835,000
 
 
งบดุล
 
                ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างงบดุลของธุรกิจการผลิตและธุรกิจซื้อขายสินค้า คือ บัญชีสินค้าคงเหลือ ธุรกิจซื้อขายสินค้าจะมีบัญชีสินค้าคงเหลือบัญชีเดียว ขณะที่ผู้ผลิตจะมีสินค้าคงเหลือ 3 บัญชี ซึ่งได้แก่ วัตถุดิบคงเหลือ งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ ดังตัวอย่างจะแสดงถึงส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียน
บริษัท สหกิจการผลิต จำกัด
งบดุล
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25x5
สินทรัพย์หมุนเวียน
                เงิน สด                                                                                                                                   356,000
                ลูกหนี้การ ค้า                                                                                                                        122,000
                สินค้าคงเหลือ :
                                วัตถุดิบ                                                                                 500,000
                                สินค้าระหว่างผลิต / งานระหว่างทำ                                    642,000
                                สินค้าสำเร็จรูป                                                                     870,000               2,012,000
                ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า                                                                                                         120,000
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน                                                                                                                   3,708,000
 
ระบบบัญชีต้นทุน

                วัตถุประสงค์ที่สำคัญของระบบบัญชีต้นทุน คือ ต้องจัดหาข้อมูลที่จำเป็นในการบริหารเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม และการตัดสินใจ และการกำหนดต้นทุนในการผลิตสินค้าแต่ละหน่วย ซึ่งจะทำได้โดยการรวบรวมต้นทุนทั้งหมดตลอดงวดเวลาหนึ่ง (ปกติ 1 เดือน) แล้วหารด้วยจำนวนของสินค้าที่ผลิตได้ทั้งหมดในงวดนั้น
                เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์จะต้องมีระบบบัญชีต้นทุนอยู่ 2 ประเภท คือ ระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ และระบบบัญชีต้นทุนช่วง ซึ่งระบบบัญชีทั้ง 2 ประเภทจะใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต้นทุนในการผลิตเพื่อหาต้นทุนของสินค้าสำเร็จรูป
 
ระบบต้นทุนงานสั่งทำ
                ระบบต้นทุนงานสั่งทำถูกออกแบบมาเพื่อรวบรวมข้อมูลของบริษัทที่ผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย วิธีนี้ถูกใช้บริษัทที่ผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้าหรือผลิตตามคำสั่งของลูกค้า
                วิธีต้นทุนงานสั่งทำจะเน้นที่งานแต่ละงาน ดังนั้นในการเก็บรวบรวมข้อมูลต้นทุน จะเก็บรวบรวมเป็นงานๆ ไป
 
ระบบต้นทุนช่วง
                ระบบต้นทุนช่วงถูกออกแบบมาเพื่อรวบรวมข้อมูลต้นทุนของกิจการซึ่งมีการผลิตเป็นจำนวนมาก และมีขั้นตอนการผลิตที่ต่อเนื่องเป็นลำดับขั้น ซึ่งต้นทุนแต่ละแผนกจะถูกเก็บรวบรวมโดยแผนกนั้นๆ แยกจากกันมากกว่าที่จะเก็บข้อมูลเป็นงานๆ เหมือนกับต้นทุนงานสั่งทำ ณ วันสิ้นงวดบัญชี ต้นทุนรวมจะเท่ากับจำนวนรวมของต้นทุนทั้งหมดที่ถูกเก็บไว้ในแต่ละแผนก ต้นทุนต่อหน่วยจะถูกคำนวณโดยการนำต้นทุนการผลิตรวมหารด้วยจำนวนของหน่วยที่ผลิต
 
การบันทึกบัญชีสำหรับธุรกิจการผลิต

                การบันทึกบัญชีสำหรับธุรกิจการผลิตเพื่อใช้ในการสะสมต้นทุนมี 2 วิธี คือ การสะสมต้นทุนแบบสิ้นงวดและการสะสมต้นทุนแบบต่อเนื่อง
 
การสะสมต้นทุนแบบสิ้นงวด

                การบันทึกบัญชีจะไม่บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือระหว่างงวดคือ บัญชีวัตถุดิบ งานระหว่างทำและสินค้าสำเร็จรูป แต่จะบันทึกในบัญชีซื้อวัตถุดิบ บัญชีค่าแรงทางตรง และบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตประเภทต่างๆ  ในตอนสิ้นงวดจะมีการตรวจนับวัตถุดิบปลายงวด งานระหว่างทำปลายงวด และสินค้าสำเร็จรูปปลายงวด เพื่อคำนวณหาต้นทุนการผลิต และต้นทุนสินค้าผลิตเสร็จ ซึ่งการบันทึกบัญชีตามวิธีนี้จะไม่ทราบต้นทุนสินค้าขายในทันที แต่จะต้องตรวจนับสินค้าคงเหลือปลายงวดก่อน ดังนั้นการสะสมต้นทุนวิธีนี้จึงไม่เหมาะสำหรับกิจการที่ต้องการใช้ข้อมูลทางการบัญชีต้นทุนไปใช้ในการบริหารงาน แต่ก็เหมาะสมสำหรับกิจกรรมขนาดเล็กที่ไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลในการบริหารงาน
ตัวอย่าง 1
                บริษัท เสรีการผลิต จำกัด เป็นกิจการผลิตแปรสภาพวัตถุดิบ ให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป ในวันที่ 1 ธันวาคม 25x4 ในบัญชีสินค้าคงเหลือ มีดังนี้ วัตถุดิบ 38,000 บาท งานระหว่างทำ 82,000 บาท และสินค้าสำเร็จรูป 45,000 บาท
                ในระหว่างเดือนแผนกจัดซื้อของบริษัทฯ ได้ซื้อวัตถุดิบ เป็นเงินเชื่อทั้งสิ้น 150,000 บาท และแผนกผลิตได้เบิกวัตถุดิบไปใช้ในการผลิตจำนวน 162,000 บาท ค่าแรงที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนมีทั้งสิ้น 282,000 บาท โดยในจำนวนนี้เป็นค่าแรงทางตรง 260,000 บาท และในระหว่างเดือนมีค่าไฟฟ้า จำนวน 3,000 บาท ค่าน้ำประปา 2,500 บาท ค่าเสื่อมราคาโรงงาน 78,000 บาท ค่าเบี้ยประกัน 2,000 บาท และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่นๆ อีก 3,500 บาท สินค้าจำนวน 562,000 บาท ผลิตเสร็จและโอนเข้าคลังสินค้าและขายสินค้า จำนวน 740,000 บาท เป็นเงินเชื่อ สินค้ามีต้นทุนเท่ากับ 532,000 บาท ตรวจนับสินค้าคงเหลือมีดังนี้ วัตถุดิบ 26,500 บาท งานระหว่างทำ 52,500 บาท และสินค้าสำเร็จรูป 75,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเกิดขึ้นจำนวน 85,000 บาท

การบันทึกบัญชีแบบสิ้นงวด

1.  เมื่อซื้อวัตถุดิบ บริษัท เสรีการผลิต จำกัด ซื้อวัตถุดิบทั้งสิ้นเป็นเงินเชื่อ 150,000 บาท บันทึกบัญชีดังนี้
         เดบิต    ซื้อวัตถุดิบ                                                150,000
                เครดิต    เจ้าหนี้การค้า                                                                150,000
  
2.  เมื่อเบิกวัตถุดิบไปใช้ในการผลิต เป็นการเบิกวัตถุดิบทางตรง จำนวน 100,000 บาท และวัตถุดิบทางอ้อม 62,000 บาท
                *** ตามวิธีนี้จะไม่มีการบันทึกบัญชีตอนเบิกวัตถุดิบไปใช้ในการผลิต
3.  ค่าแรงงเกิดขึ้นระหว่างงวด เป็นค่าแรงทางตรง 260,000 บาท เป็นค่าแรงทางอ้อม 22,000 บาท บันทึกบัญชีดังนี้
         เดบิต    ค่าแรง                                                    282,000
                เครดิต    ค่าแรงค้างจ่าย                                                            282,000
 
กระจายค่าแรงเข้างาน บันทึกดังนี้
         เดบิต    ค่าแรงทางตรง                                        260,000
                      ค่าแรงทางอ้อม                                         22,000
                เครดิต    ค่าแรง                                                                        282,000
 
 4.  ค่าใช้จ่ายในการผลิตต่างๆ ที่เกิดขึ้น
                4.1  ค่าใช้จ่ายในการผลิตต่างๆ
         เดบิต    ค่าไฟฟ้า                                                    3,000
                     ค่าน้ำประปา                                              2,500
                     ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด                                     3,500
                เครดิต    เงินสด                                                                           9,000
 
4.2    กรณีค่าเสื่อมราคา บันทึกโดยการปรับปรุง ดังนี้
         เดบิต    ค่าเสื่อมราคา-โรงงาน                              78,000
                เครดิต    ค่าเสื่อมราคาสะสม-โรงงาน                                        78,000
 
กรณีค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
         เดบิต    ค่าเบี้ยประกัน                                            2,000
                เครดิต    ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า                                        2,000
 
5.  โอนบัญชีต้นทุนต่างๆ เข้าบัญชีต้นทุนการผลิต
         เดบิต    ต้นทุนการผลิต                                        641,000
                เครดิต    วัตถุดิบ (ต้นงวด)                                                            38,000
                                งานระหว่างทำ                                                               82,000
                                ซื้อวัตถุดิบ                                                                    150,000
                                ค่าแรงทางตรง                                                              260,000
                                ค่าแรงทางอ้อม                                                               22,000
                                ค่าไฟฟ้า                                                                            3,000
                                ค่าน้ำประปา                                                                     2,500
                                ค่าเบี้ยประกัน                                                                   2,000
                                ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด                                                            3,500
                                ค่าเสื่อมราคา-โรงงาน                                                     78,000
 
  6.  บันทึกคงเหลือที่ตรวจนับได้ในวันสิ้นงวด
             เดบิต    วัตถุดิบทางตรง (ปลายงวด)                26,500
                          งานระหว่างทำ (ปลายงวด)                 52,500
                    เครดิต    ต้นทุนการผลิต                                                             79,000
 
7.  โอนสินค้าที่ผลิตเสร็จเข้าบัญชีสินค้าสำเร็จรูป
             เดบิต    ต้นทุนสินค้าสำเร็จรูป                            562,000
                    เครดิต    ต้นทุนการผลิต                                                            562,000
 
8.       บันทึกการขายสินค้า
             เดบิต    ลูกหนี้/เงินสด                                        740,000
                    เครดิต    ขาย                                                                               740,000
 
*** แต่ตามวิธีนี้ไม่ต้องบันทึกต้นทุนสินค้าขาย
 
การสะสมต้นทุนแบบต่อเนื่อง

                การสะสมต้นทุนโดยวิธีนี้กิจการจะเปิดบัญชีสินค้าคงเหลือ ซึ่งประกอบด้วยบัญชีวัตถุดิบ งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งจะทำให้กิจการทราบการเคลื่อนไหวของสินค้าคงเหลือตลอดเวลาเพื่อให้ฝ่ายบริหารได้ข้อมูลในการวางแผนและควบคุม ตามวิธีนี้จะทำให้กิจการทราบจำนวนสินค้าคงเหลือตลอดเวลา และทราบต้นทุนสินค้าที่ขายโดยดูได้จากบัญชีแยกประเภทของบัญชีดังกล่าว

การบันทึกบัญชีต้นทุนแบบต่อเนื่อง
 
                จะมีบัญชีที่แตกต่างกับการบันทึกบัญชีแบบสิ้นงวด ดังนี้
1.  วัตถุดิบจะบันทึกในบัญชีวัตถุดิบแทนที่จะบันทึกบัญชีซื้อวัตถุดิบ และเมื่อมีการเบิกวัตถุดิบ ก็จะเครดิตออกจากบัญชีวัตถุดิบด้วย
2.   ค่าแรงนั้นบันทึกเช่นเดียวกับการบันทึกแบบสิ้นงวด
3.   ค่าใช้จ่ายการผลิต ตามวิธีนี้ค่าใช้จ่ายการผลิตที่เกิดขึ้นจะรวบรวมไว้ในบัญชีคุมค่าใช้จ่ายการผลิต จากนั้นต้องโอนไปบัญชีงานระหว่างทำ
4. บัญชีงานระหว่างทำจะเป็นบัญชีที่ทำหน้าที่รวบรวมต้นทุนการผลิตซึ่งประกอบด้วย วัตถุทางตรง ค่าแรงทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต เมื่อผลิตภัณฑ์ผลิตเสร็จก็จะโอนไปบัญชีสินค้าสำเร็จรูปส่วนที่เหลืออยู่ก็เป็นงานระหว่างทำปลายงวด
5.  บัญชีสินค้าสำเร็จรูป เป็นบัญชีที่บันทึกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเสร็จ เมื่อสินค้าผลิตเสร็จแต่ยังไม่ขาย บัญชีนี้จะเป็นบัญชีสินทรัพย์ และเมื่อขายสินค้าจะเดบิตต้นทุนสินค้าขาย และเครดิตบัญชีสินค้าสำเร็จรูป
 
การบันทึกบัญชีแบบต่อเนื่อง

1.  เมื่อซื้อวัตถุดิบ
         เดบิต    วัตถุดิบ                                                        150,000
                เครดิต    เจ้าหนี้การค้า                                                                            150,000
  
2.  เมื่อเบิกวัตถุดิบไปใช้ในการผลิต
         เดบิต    งานระหว่างทำ                                            100,000
                       ค่าใช้จ่ายการผลิต                                         62,000
                เครดิต    วัตถุดิบ                                                                                    162,000
 
  3.       ค่าแรงที่เกิดขึ้นในระหว่างงวด
         เดบิต    ค่าแรง                                                          282,000
                เครดิต    ค่าแรงค้างจ่าย                                                                          282,000
 
กระจายค่าแรงไปเป็นค่าแรงทางตรงและค่าแรงทางอ้อม ดังนี้
         เดบิต    งานระหว่างทำ                                            260,000
                      ค่าใช้จ่ายการผลิต                                          22,000
                เครดิต    ค่าแรง                                                                                     282,000
 
 4.  ค่าใช้จ่ายการผลิตต่างๆ
           4.1  กรณีค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จ่ายเป็นเงินสดหรือเงินเชื่อ บันทึกบัญชี ดังนี้
         เดบิต    ค่าใช้จ่ายการผลิต                                            9,000
                เครดิต    เงินสด                                                                                         9,000
 
4.2    กรณีค่าเสื่อมราคา บันทึกโดยการปรับปรุง ดังนี้
         เดบิต    ค่าใช้จ่ายการผลิต                                          78,000
                 เครดิต    ค่าเสื่อมราคาสะสม-โรงงาน                                                    78,000
 
4.3    กรณีค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
         เดบิต    ค่าใช้จ่ายการผลิต                                            2,000
                เครดิต    ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า                                                        2,000
 
5.  โอนบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตเข้าบัญชีคุมงานระหว่างทำ
         เดบิต    งานระหว่างทำ                                            173,000
                เครดิต    ค่าใช้จ่ายการผลิต                                                                    173,000
 
6.       โอนสินค้าที่ผลิตเสร็จเข้าบัญชีสินค้าสำเร็จรูป
         เดบิต    สินค้าสำเร็จรูป                                            562,000
                เครดิต    งานระหว่างทำ                                                                        562,000
 
7.       บันทึกการขายสินค้า
         เดบิต    ลูกหนี้/เงินสด                                            740,000
               เครดิต    ขาย                                                                                            740,000
 
        เดบิต    ต้นทุนสินค้าขาย                                         532,000
            เครดิต    สินค้าสำเร็จรูป                                                                             532,000
  
กระดาษทำการสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรม

                ขั้นตอนการจัดทำกระดาษทำการนั้น จะเหมือนกับการจัดทำกระดาษทำการของธุรกิจซื้อขายสินค้า สิ่งที่แตกต่างกันก็คือบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณต้นทุนการผลิตเท่านั้น โดยในกระดาษทำการจะเพิ่มช่องงบต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นอีก 1 ช่อง
ตัวอย่างการจัดทำกระดาษทำการของธุรกิจการผลิต
บริษัท สยามการผลิต จำกัด
งบทดลองก่อนการปรับปรุง
วันที่ 31 ธันวาคม 25x1
เงินสด                                                                                                   10,500
ลูกหนี้การค้า                                                                                        12,000
วัตถุดิบ (1 ม.ค. 25x1)                                                                            8,000
งานระหว่างทำ (1 ม.ค. 25x1)                                                                7,500
สินค้าสำเร็จรูป (1 ม.ค. 25x1)                                                              11,000
ที่ดิน                                                                                                  400,000
อุปกรณ์สำนักงาน                                                                             100,000
เครื่องจักร                                                                                         260,000
เจ้าหนี้การ ค้า                                                                                                                                        13,300
ตั๋วเงิน จ่าย                                                                                                                                               6,500
ทุนเรือน หุ้น                                                                                                                                        700,000
กำไร สะสม                                                                                                                                           29,300
ขาย                                                                                                                                                     200,000
ซื้อวัตถุดิบ                                                                                         48,000
ค่าแรงทางตรง                                                                                   38,500
ค่าแรงทางอ้อม                                                                                  22,700
ค่าน้ำค่าไฟ โรงงาน                                                                       12,400
ค่าใช้จ่ายในการขาย และบริหาร                                                      18,500                                                     
                                                                                                       949,100                                      949,100
ข้อมูลเพิ่มเติม
1.       คิดค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์สำนักงาน 20% ต่อปี
2.       คิดค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 10% ต่อปี
3.       ค่าน้ำค่าไฟค้างจ่าย 5,000 บาท
4.       สินค้าคงเหลือปลายงวดประกอบด้วย
วัตถุดิบ                                     9,000  บาท
งานระหว่างทำ                       12,500  บาท
สินค้าสำเร็จรูป                       17,000  บาท
กระดาษทำการดังกล่าวเป็นการจัดทำกระดาษทำการกรณีการสะสมต้นทุนแบบสิ้นงวด
 
                                                                                                                    บริษัท สยามการผลิต จำกัด
                                                                                                                             กระดาษทำการ
                                                                                                        สำหรับงวดปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 25x1
 
ชื่อบัญชี
งบทดลอง
รายการปรับปรุง
งบทดลองหลังปรับปรุง
งบต้นทุนการผลิต
งบกำไรขาดทุน
งบดุล
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เงินสด
     10,500
 
 
 
      10,500
 
 
 
 
 
    10,500
 
ลูกหนี้การค้า
     12,000
 
 
 
      12,000
 
 
 
 
 
    12,000
 
วัตถุดิบ
       8,000
 
 
 
        8,000
 
       8,000
 
 
 
 
 
งานระหว่างทำ
       7,500
 
 
 
        7,500
 
       7,500
 
 
 
 
 
สินค้าสำเร็จรูป
     11,000
 
 
 
      11,000
 
 
 
      11,000
 
 
 
ที่ดิน
   400,000
 
 
 
    400,000
 
 
 
 
 
    400,000
 
อุปกรณ์สำนักงาน
   100,000
 
 
 
    100,000
 
 
 
 
 
    100,000
 
เครื่องจักร
   260,000
 
 
 
    260,000
 
 
 
 
 
    260,000
 
เจ้าหนี้การค้า
 
     13,300
 
 
 
      13,300
 
 
 
 
 
      13,300
ตั๋วเงินจ่าย
 
       6,500
 
 
 
        6,500
 
 
 
 
 
        6,500
ทุนเรือนหุ้น
 
   700,000
 
 
 
    700,000
 
 
 
 
 
    700,000
กำไรสะสม
 
     29,300
 
 
 
      29,300
 
 
 
 
 
      29,300
ขาย
 
   200,000
 
 
 
    200,000
 
 
 
 
   
 
ซื้อวัตถุดิบ
     48,000
 
 
 
      48,000
 
     48,000
 
 
 
 
 
ค่าแรงทางตรง
     38,500
 
 
 
      38,500
 
     38,500
 
 
 
 
 
ค่าแรงทางอ้อม
     22,700
 
 
 
      22,700
 
     22,700
 
 
 
 
 
ค่าน้ำค่าไฟ-โรงงาน
     12,400
 
     5,000l
 
      17,400
 
     17,400
 
 
 
 
 
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
     18,500
 
 
 
      18,500
 
 
 
      18,500
 
 
 
 
   949,100
   949,100
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ค่าเสื่อมราคา-อุปกรณ์สำนักงาน
 
 
   20,000j
 
      20,000
 
 
 
      20,000
 
 
 
ค่าเสื่อมราคาสะสม-อุปกรณ์สำนักงาน
 
 
 
   20,000j
 
     20,000
 
 
 
 
 
     20,000
ค่าเสื่อมราคา-เครื่องจักร
 
 
  26,000k
 
      26,000
 
     26,000
 
 
 
 
 
ค่าเสื่อมราคาสะสม-เครื่องจักร
 
 
 
   26,000k
 
     26,000
 
 
 
 
 
     26,000
ค่าน้ำค่าไฟค้างจ่าย
 
 
 
     5,000l
 
       5,000
 
 
 
 
 
       5,000
 
 
 
  51,000
   51,000
 1,000,100
1,000,100
 
 
 
 
 
 
สินค้าคงเหลือ 31 ธ.ค. 25x1
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
        สินค้าสำเร็จรูป
 
 
 
 
 
 
 
 
 
     17,000
 
 
        งานระหว่างทำ
 
 
 
 
 
 
 
     12,500
 
 
     12,500
 
        วัตถุดิบ
 
 
 
 
 
 
 
       9,000
 
 
       9,000
 
 
 
 
 
 
 
 
   168,100
     21,500
 
 
 
 
        ต้นทุนสินค้าสำเร็จรูป
 
 
 
 
 
 
 
   146,600
    146,600
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   168,100
   168,100
    196,100
   217,000
 
 
กำไรสุทธิ
 
 
 
 
 
 
 
 
      20,900
 
 
     20,900
 
 
 
 
 
 
 
 
 
    217,000
   217,000
   821,000
   821,000

การปิดบัญชีของธุรกิจการผลิต

                ทำการปิดบัญชีเมื่อตอนสิ้นงวด ในสมุดรายวันทั่วไป และผ่านไปยังสมุดบัญชีแยกประเภท ดังนี้
1.       ปิดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณต้นทุนการผลิต เข้าบัญชีต้นทุนการผลิต
2.       บันทึกบัญชีงานระหว่างทำ และวัตถุดิบคงเหลือ
3.       ปิดบัญชีต้นทุนการผลิต และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเข้าบัญชีสรุปผลกำไรขาดทุน
4.       บันทึกบัญชีสินค้าสำเร็จรูป และปิดบัญชีขายเข้าบัญชีสรุปผลกำไรขาดทุน
5.       ปิดบัญชีสรุปผลกำไรขาดทุนเข้าบัญชีกำไรสะสม

การปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป มีดังนี้

        จากตัวอย่าง บริษัท สยามการผลิต จำกัด

25x1
ธ.ค.  31    เดบิต    ต้นทุนการผลิต                                    168,100
                        เครดิต    วัตถุดิบ (ต้นงวด)                                                            8,000
                                        งานระหว่างทำ (ต้นงวด)                                               7,500
                                        ซื้อวัตถุดิบ                                                                   48,000
                                        ค่าแรงทางตรง                                                             38,500
                                        ค่าแรงทางอ้อม                                                            22,700
                                        ค่าน้ำค่าไฟ                                                                  17,400
                                        ค่าเสื่อมราคา-เครื่องจักร                                              26,000

                เดบิต    งานระหว่างทำ (ปลายงวด)                    12,500
                             วัตถุดิบ (ปลายงวด)                                 9,000
                        เครดิต    ต้นทุนการผลิต                                                              21,500

                เดบิต    สรุปผลกำไรขาดทุน                                196,100
                        เครดิต    สินค้าสำเร็จรูป (ต้นงวด)                                                11,000
                                       ต้นทุนการผลิต                                                             146,600
                                       ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร                                      18,500
                                       ค่าเสื่อมราคา-อุปกรณ์สำนักงาน                                     20,000

                เดบิต    สินค้าสำเร็จรูป (ปลายงวด)                         17,000
                            ขาย                                                             200,000
                        เครดิต    สรุปผลกำไรขาดทุน                                                      217,000

                เดบิต    สรุปผลกำไรขาดทุน                                    20,900
                        เครดิต    กำไรสะสม                                                                       20,900

 สรุป
                ธุรกิจการผลิต เป็นธุรกิจที่นำวัตถุดิบมาแปรรูปให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป โดยใช้แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการผลิต องค์ประกอบของต้นทุนการผลิตประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต สินค้าคงเหลือในธุรกิจการผลิต ประกอบด้วย 3 ชนิด คือ วัตถุดิบคงเหลือ งานระหว่างทำคงเหลือ และสินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ งบการเงินของธุรกิจการผลิต จะมีงบต้นทุนการผลิต เพื่อแสดงการคำนวณต้นทุนสินค้าสำเร็จรูป การบันทึกบัญชีสำหรับธุรกิจการผลิต เพื่อใช้ในการสะสมต้นทุนมี 2 วิธี คือ การสะสมต้นทุนแบบสิ้นงวด และการสะสมต้นทุนแบบต่อเนื่อง
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น