ในการปรับปรุงบัญชีจะมีทั้งการปรับปรุงรายการที่บันทึกไว้
รายการที่อาจเกิดจากการบันทึกไว้ผิดพลาด
และการปรับปรุงจะรวมทั้งการบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาที่จัดทำงบการเงินที่ยังไม่ได้บันทึกรายการค้าไว้
ทำให้ต้องบันทึกรายการรายได้และค่าใช้จ่ายเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์คงค้าง
รายการปรับปรุงเมื่อสิ้นงวดจะมีรายการดังต่อไปนี้
1.
รายได้ค้างรับ
2.
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
3.
รายได้รับล่วงหน้า
4.
ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
5.
ค่าเสื่อมราคา
6.
ค่าตัดจำหน่าย
7.
ค่าสูญสิ้น
8.
วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป
9.
หนี้สงสัยจะสูญ
10.
การแก้ไขข้อผิดพลาด
1.
รายได้ค้างรับ
รายได้ค้างรับเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นในงวดปัจจุบัน
แต่ยังไม่ได้รับชำระเงินสดจนกว่าจะถึงงวดบัญชีต่อไป
ในงวดบัญชีที่จัดทำงบการเงินเมื่อมีรายการเกิดขึ้นกิจการจะบันทึกตามเกณฑ์คงค้าง
การบันทึกรายการรายได้ค้างรับจะบันทึกดังนี้
เดบิต
รายได้ค้างรับ
xxx
"
เป็นรายการสินทรัพย์ในงบดุล
เครดิต รายได้รับ
xxx
"
เป็นรายการรายได้ในงบกำไรขาดทุน
ตัวอย่างที่
1
บริษัทฝากธนาคาร 1,000,000 บาท โดยได้รับดอกเบี้ย 3%
ซึ่งเป็นการฝากแบบประจำ 3 เดือน โดยได้เริ่มฝากในวันที่ 1 พฤศจิกายน 25x1
เดบิต
ดอกเบี้ยค้างรับ
5,000
เครดิต ดอกเบี้ยรับ
5,000
จากนั้นเมื่อได้รับเงินรายได้ดอกเบี้ยรับในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 25x2
จะบันทึกรายการเพื่อบันทึกเงินสดที่ได้รับแล้วล้างบัญชีดอกเบี้ยค้างรับทิ้งไป
เดบิต
เงินสด
7,500
เครดิต
ดอกเบี้ยค้างรับ
5,000
ดอกเบี้ยรับ
2,500
2.
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายซึ่งเกิดขึ้นในงวดปัจจุบัน
แต่ยังไม่ได้จ่ายเงินสดจนกว่าจะถึงงวดบัญชีต่อไป
ในงวดบัญชีที่จัดทำงบการเงินเมื่อมีรายการเกิดขึ้นกิจการจะบันทึกตามเกณฑ์
คงค้าง
การบันทึกรายการค่าใช้จ่ายค้างจ่ายจะบันทึกดังนี้
เดบิต
ค่าใช้จ่าย
xxx
"
เป็นรายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
เครดิต ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
xxx
"
เป็นรายการหนี้สินในงบดุล
ตัวอย่างที่
2
ณ วันที่ 31
ธันวาคม 25x1
บริษัทฯ มีค่าแรงซึ่งยังไม่ได้จ่าย 2 วัน เป็นเงิน 1,000 บาท
เดบิต
เงินเดือนและค่าแรง
1,000
เครดิต
เงินเดือนและค่าแรงค้างจ่าย
1,000
จากนั้นเมื่อได้จ่ายค่าเงินเดือนและค่าแรงงานในวันที่ 4 มกราคม 25x2
จำนวน 1,500 บาท จะบันทึกรายการจ่ายเงิน
เพื่อล้างบัญชีเงินเดือนและค่าแรงค้างจ่ายทิ้ง
เดบิต
เงินเดือนและค่าแรงค้างจ่าย
1,000
เงินเดือนและค่าแรง
500
เครดิต
เงินสด
1,500
3.
รายได้รับล่วงหน้า
รายได้รับล่วงหน้าเป็นรายได้ที่กิจการได้รับเงินล่วงหน้า
โดยยังให้บริการแก่ลูกค้าไม่หมด
ดังนั้นรายได้ที่รับมาจึงเป็นรายได้ในงวดนี้ส่วนหนึ่ง
และที่เหลืออีกส่วนหนึ่งเป็นรายได้ในงวดบัญชีถัดไป กิจการสามารถบันทึกได้ 2 วิธี
แต่เมื่อทำการปรับปรุงแล้วยอดคงเหลือของรายการที่แสดงในงบการเงินจะมียอดคงเหลือเท่ากัน
การบันทึกรับเงินสดจากลูกค้าล่วงหน้าในวันที่รับเงินสดจะทำได้ 2
วิธี คือ
3.1) บันทึกถือเป็นรายได้รับล่วงหน้า
"
บันทึกในรายการหนี้สิน
3.2) บันทึกถือเป็นรายได้
"
บันทึกในรายการรายได้
3.1
บันทึกถือเป็นรายได้รับล่วงหน้า
กิจการจะบันทึกเงินสดที่ได้รับมาทั้งหมดเป็นหนี้สิน
เมื่อวันสิ้นสุดงวดจึงมาปรับปรุงรายการรายได้รับล่วงหน้าเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนในส่วนที่ได้ให้บริการแก่ลูกค้าแล้ว
การบันทึกรายการรายได้รับล่วงหน้าจะบันทึกดังนี้
ในวันที่ได้รับเงินสด
เดบิต
เงินสด
xxx
เครดิต รายได้รับล่วงหน้า
xxx
"
เป็นรายการหนี้สินในงบดุล
ในวันสิ้นงวดซึ่งได้ให้บริการแล้วบางส่วนจะลงบัญชีล้างรายได้รับล่วงหน้าในส่วนที่ได้ให้บริการแล้วออกจากบัญชี
โดยจะไปบันทึกรับรู้รายได้แทนในจำนวนที่เท่ากัน
ในวันปรับปรุงรายการ
เดบิต
รายได้รับล่วงหน้า
xxx
เครดิต รายได้รับ
xxx
"
เป็นรายการรายได้ในงบกำไรขาดทุน
ตัวอย่างที่
3
(บันทึกเป็นรายได้รับล่วงหน้า)
บริษัทฯ รับค่าเช่าอาคารล่วงหน้าจากผู้เช่าในวันที่ 1 กันยายน 25x1
โดยเป็นค่าเช่าสำหรับ 6 เดือน เป็นเงินรวม 12,000 บาท
25x1
ก.ย. 1
เดบิต เงินสด
12,000
เครดิต
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
12,000
25x1
ธ.ค. 31
เดบิต ค่าเช่ารับล่วงหน้า
8,000
เครดิต
ค่าเช่ารับ
8,000
3.2
บันทึกถือเป็นรายได้
กิจการจะบันทึกเงินสดที่ได้รับมาทั้งหมดเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนทั้งหมด
ดังนั้นในวันสิ้นงวดกิจการจะมีรายได้รับในงวดบัญชีมากเกินไป
ในวันสิ้นงวดจึงต้องปรับปรุงรายการรายได้รับให้แสดงเป็นรายได้สำหรับงวดเวลานั้นเท่านั้น
ส่วนที่เหลือจะนำไปบันทึกไว้เป็นรายการรายได้รับล่วงหน้า
ในวันที่ได้รับเงินสด
เดบิต
เงินสด
xxx
เครดิต รายได้รับ
xxx
"
เป็นรายการรายได้ในงบกำไรขาดทุน
ในวันสิ้นงวดซึ่งได้ให้บริการแล้วแต่ยังให้บริการไม่แล้วเสร็จทั้งหมด
ดังนั้นหากยังคงบันทึกทั้งหมดเป็นรายได้จะทำให้การรับรู้รายได้ในงวดนั้นสูงเกินไป
จึงต้องทำการปรับปรุงจำนวนที่รับรู้รายได้ให้แสดงรายได้ที่เกิดขึ้นจริงสำหรับในงวด
แล้วนำส่วนที่ยังไม่ได้ให้บริการไปไว้เป็นรายการรายได้รับล่วงหน้า
ในวันปรับปรุงรายการ
เดบิต
รายได้รับ
xxx
เครดิต รายได้รับล่วงหน้า
xxx
"
เป็นรายการหนี้สินในงบดุล
ตัวอย่างที่
4
(บันทึกถือเป็นรายได้)
บริษัทฯ
รับค่าเช่าอาคารล่วงหน้าจากผู้เช่าในวันที่ 1 กันยายน 25x1
โดยเป็นค่าเช่าสำหรับ 6 เดือน เป็นเงินรวม 12,000 บาท
25x1
ก.ย. 1
เดบิต เงินสด
12,000
เครดิต
ค่าเช่ารับ
12,000
25x1
ธ.ค. 31
เดบิต ค่าเช่ารับ
4,000
เครดิต
ค่าเช่ารับล่วงหน้า
4,000
4.
ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
เป็นค่าใช้จ่ายที่กิจการได้จ่ายเงินล่วงหน้าไปแล้ว โดยได้รับบริการเพียงบางส่วน
ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจึงเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนี้ส่วนหนึ่ง
และเหลืออีกส่วนหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีถัดไป
การบันทึกจำนวนเงินที่จ่ายไปกิจการสามารถบันได้ 2 วิธี
แต่เมื่อทำการปรับปรุงแล้วยอดคงเหลือของรายการที่แสดงในงบการเงินจะมียอดคงเหลือเท่ากันเสมอ
การบันทึกเงินสดที่จ่ายไปสำหรับค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าในวันที่จ่ายเงินจะบันทึกได้
2 วิธี คือ
4.1)
บันทึกถือเป็นค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
"
บันทึกในรายการสินทรัพย์
4.2)
บันทึกถือเป็นค่าใช้จ่าย
"
บันทึกในรายการค่าใช้จ่าย
4.1
บันทึกถือเป็นค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
กิจการจะบันทึกเงินสดจ่ายทั้งหมดเป็นสินทรัพย์ในวันที่จ่ายเงินสด
เมื่อวันสิ้นงวดจึงมาปรับปรุงรายการค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนในส่วนที่ได้ใช้บริการไปแล้ว
ในวันที่จ่ายเงินสด
เดบิต
ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
xxx
"
รายการสินทรัพย์ในงบดุล
เครดิต เงินสด
xxx
ในวันสิ้นงวดซึ่งได้ใช้บริการไปแล้วบางส่วนก็จะลงบันทึกล้างค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าในส่วนที่ได้ใช้บริการแล้วออกจากบัญชี
โดยจะบันทึกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายแทนในจำนวนที่เท่ากัน
ในวันปรับปรุงรายการ
เดบิต
ค่าใช้จ่าย
xxx
"
รายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
เครดิต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
xxx
ตัวอย่างที่
5 (บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า)
บริษัทฯ จ่ายค่าเบี้ยประกันภัย 12,000 บาท สำหรับกรมธรรม์อายุ 1 ปี
โดยจ่ายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 25x1
25x1
พ.ย. 1
เดบิต ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า
12,000
เครดิต
เงินสด
12,000
25x1
ธ.ค. 31
เดบิต ค่าเบี้ยประกันภัยจ่าย
2,000
เครดิต
ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า
2,000
4.2
บันทึกถือเป็นค่าใช้จ่าย
กิจการจะบันทึกเงินสดจ่ายที่จ่ายทั้งหมดที่จ่ายทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทั้งหมด
ดังนั้นในวันสิ้นงวดกิจการจะมีค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้นมากเกินไป
ดังนั้นในวันสิ้นงวดจึงต้องทำการปรับปรุงรายการค่าใช้จ่ายให้แสดงเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับงวดเวลานั้นเท่านั้น
ส่วนที่เหลือจะนำไปบันทึกไว้เป็นรายการค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
ในวันที่จ่ายเงินสด
เดบิต
ค่าใช้จ่าย
xxx
"
รายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
เครดิต เงินสด
xxx
ในวันสิ้นงวดซึ่งได้ใช้บริการบ้างบางส่วนแล้วแต่ยังได้รับบริการไม่หมดทั้งจำนวน
ดังนั้นหากบันทึกรายการทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่าย
จะทำให้การรับรู้ค่าใช้จ่ายในงวดนั้นสูงเกินไป
จึงต้องทำการปรับปรุงจำนวนที่รับรู้ค่าใช้จ่ายให้แสดงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับงวดบัญชีนั้นเท่านั้น
แล้วนำส่วนที่ยังไม่ได้รับบริการไปแสดงเป็นรายการค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
ในวันปรับปรุงรายการ
เดบิต
ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
xxx
"
รายการสินทรัพย์ในงบดุล
เครดิต ค่าใช้จ่าย
xxx
ตัวอย่างที่
6 (บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย)
บริษัทฯ จ่ายค่าเบี้ยประกันภัย 12,000 บาท สำหรับกรมธรรม์อายุ 1 ปี
โดยจ่ายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 25x1
25x1
พ.ย. 1
เดบิต ค่าเบี้ยประกันภัยจ่าย
12,000
เครดิต เงินสด
12,000
25x1
ธ.ค. 31
เดบิต ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า
10,000
เครดิต
ค่าเบี้ยประกันภัยจ่าย
10,000
5.
ค่าเสื่อมราคา
ค่าเสื่อมราคาเป็นการปันส่วนต้นทุนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่มีตัวตนที่มีการเสื่อมสภาพ
ได้แก่สินทรัพย์ประเภทอาคาร อุปกรณ์ แต่จะยกเว้นที่ดิน
(ถือว่าไม่มีการเสื่อมสภาพ)
เนื่องจากสินทรัพย์ประเภทนี้ให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจนานกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี
เพื่อให้การจัดทำงบการเงินถูกต้อง
กิจการต้องปันส่วนต้นทุนสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่มีตัวตนที่มีการเสื่อมสภาพเป็นค่าใช้จ่ายตลอดอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
ในการคำนวณค่าเสื่อมราคาจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
และการบันทึกค่าเสื่อมราคาจะบันทึกคู่กับรายการค่าเสื่อมราคาสะสม
ซึ่งเป็นบัญชีที่สะสมยอดค่าเสื่อมราคาตั้งแต่เริ่มใช้งานจนถึงปัจจุบันในวันที่จัดทำงบการเงิน
จึงจัดว่าบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมเป็นบัญชีตรงกันข้ามกับบัญชีสินทรัพย์
ในการคำนวณค่าเสื่อมราคามีหลายวิธี เช่น วิธีเส้นตรง
วิธียอดคงเหลือลดลง วิธีผลรวมจำนวนปี เป็นต้น
ซึ่งแต่ละวิธีจะทำให้ค่าเสื่อมราคาแสดงยอดไม่เท่ากัน
แต่วิธีที่นิยมมากที่สุดคือวิธีเส้นตรง
ซึ่งการคำนวณโดยวิธีนี้จะทำให้ค่าเสื่อมราคาเท่ากันทุกปีตลอดอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
ในการคำนวณค่าเสื่อมราคาจะเป็นการประมาณการโดยต้องประมาณการอายุการให้ประโยชน์ชิงเศรษฐกิจ
และราคาซาก
อายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
เป็นการประมาณการว่าสินทรัพย์ที่มีการเสื่อมสภาพนั้นจะมีอายุในการให้ประโยชน์กับกิจการนานเพียงใด
ราคาซาก
เป็นการประมาณการว่าเมื่อสินทรัพย์ที่มีการเสื่อมสภาพนั้นหมดอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแล้วคาดว่าจะขายได้เป็นจำนวนเท่าใด
การบันทึกรายการค่าเสื่อมราคาจะบันทึกดังนี้
เดบิต
ค่าเสื่อมราคา
xxx
"
รายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม
xxx
"
รายการปรับมูลค่าของสินทรัพย์ในงบดุล
การคำนวณโดยวิธีเส้นตรง
จะทำให้ค่าเสื่อมราคาเท่ากันทุกปีตลอดอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
การคำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรง
ค่าเสื่อมราคาต่อปี
=
ต้นทุนสินทรัพย์ – ราคาซาก
อายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
ตัวอย่างที่
7
บริษัทฯ ซื้อรถยนต์ราคา 260,000 บาท เมื่อวันที่ 1 มกราคม 25x1
โดยประมาณอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ 10 ปี และประมาณราคาซากเท่ากับ 20,000 บาท
25x1
ธ.ค. 31
เดบิต ค่าเสื่อมราคา-รถยนต์
24,000
เครดิต
ค่าเสื่อมราคาสะสม-รถยนต์
24,000
การคำนวณค่าเสื่อมราคาจะคำนวณแล้วบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปแล้วผ่านไปบัญชีแยกประเภทตลอดอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
เมื่อหมดอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแล้วจะมีมูลค่าเหลือเท่ากับราคาซาก
การคำนวณค่าเสื่อมราคาเมื่อครอบครองไม่เต็มปี
ให้คำนวณตามสัดส่วนระยะเวลาที่เริ่มใช้ประโยชน์จนถึงวันที่ในงบดุล เช่น
จากตัวอย่างที่ 7 ถ้าซื้อรถยนต์มาวันที่ 1 มิถุนายน 25x1
นั้น ค่าเสื่อมราคาประจำปี 25x1
จะต้องบันทึกค่าเสื่อมราคาจำนวน
14,000 บาท
มูลค่าตามบัญชี
(Book Value)
การคำนวณค่าเสื่อมราคา
แล้วบันทึกปรับลดมูลค่าของสินทรัพย์ด้วยค่าเสื่อมราคาสะสมนั้น
มูลค่าสุทธิที่เหลืออยู่เรียกว่า
“มูลค่าตามบัญชี”
ดังนั้นมูลค่าตามบัญชี คือ ราคาทุนของสินทรัพย์ หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม
แสดงได้ดังนี้
ราคาทุนของสินทรัพย์
(หัก)
ค่าเสื่อมราคาสะสมของสินทรัพย์
มูลค่าตามบัญชี
กรณีขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
กิจการต้องคำนวณหามูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์มาจนถึงวันที่ขายสินทรัพย์
โดยคำนวณค่าเสื่อมราคามาถึงวันที่ขายแล้วนำไปรวมกับค่าเสื่อมราคาสะสมเพื่อคำนวณหามูลค่าตามบัญชี
และนำไปเปรียบเทียบกับเงินสดที่ได้รับ โดยพิจารณาดังนี้
1.
เงินสดที่ได้รับ
>
มูลค่าตามบัญชี ณ วันที่ ขาย
]
เกิดรายการกำไรจากการขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเป็นรายการรายได้อื่นในงบกำไรขาดทุน
2.
เงินสดที่ได้รับ
<
มูลค่าตามบัญชี ณ วันที่ ขาย
]
เกิดรายการขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเป็นรายการ-ค่าใช้จ่ายอื่นในงบกำไรขาดทุน
โดยในวันที่ขายจะต้องบันทึกล้างบัญชีสินทรัพย์
และบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมออกจากกิจการ
โดยบันทึกล้างสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนทางด้านเครดิต
และล้างบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมทางด้านเดบิต และบันทึกด้านเดบิตด้วยเงินสด
ผลต่างระหว่างด้านเดบิต และเครดิตเป็นรายการกำไรหรือขาดทุนจากการขายสินทรัพย์
แสดงการบันทึกการขายสินทรัพย์ดังนี้
เดบิต
เงินสด
xxx
ค่าเสื่อมราคาสะสม
–
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
xxx
กำไรขาดทุนขากการขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
xxx
"
ถ้าเกิดขาดทุนจากการขาย
เครดิต
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
xxx
กำไรขาดทุนขากการขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
xxx
"
ถ้าเกิดกำไรจากการขาย
ตัวอย่างที่
8
บริษัทฯ
ซื้อรถยนต์มาคันหนึ่งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 25x1
ในราคา 500,000 บาท
และคิดค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรงประมาณการอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ 5 ปี
และประมาณราคาซาก 50,000 บาท โดยบริษัทฯ ขายรถยนต์คันนี้วันที่ 1 กรกฎาคม 25x2
ในราคา 430,000 บาท ให้แสดงการบันทึกรายการค้าดังกล่าว
25x1
เม.ย. 1
เดบิต รถยนต์
500,000
เครดิต เงินสด
500,000
ธ.ค. 31
เดบิต ค่าเสื่อมราคา-รถยนต์
67,500
เครดิต
ค่าเสื่อมราคาสะสม-รถยนต์
67,500
25x2
25x2
ก.ค. 1
เดบิต ค่าเสื่อมราคา-รถยนต์
45,000
เครดิต
ค่าเสื่อมราคาสะสม-รถยนต์
45,000
ก.ค. 1 เดบิต เงินสด 430,000
ก.ค. 1 เดบิต เงินสด 430,000
ค่าเสื่อมราคาสะสม-รถยนต์
112,500
เครดิต รถยนต์
500,000
กำไรจากการขายรถยนต์
42,500
6.
ค่าตัดจำหน่าย
ค่าตัดจำหน่ายจะเป็นการปันส่วนราคาทุนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ไม่มีตัวตน เช่น
ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร เป็นต้น
โดยต้องประมาณอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
โดยอาศัยอายุของกฎหมายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
หรือประมาณอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจไม่เกิน 20 ปี
โดยจะบันทึกค่าตัดจำหน่ายในวันสิ้นงวดดังนี้
เดบิต
ค่าตัดจำหน่าย
xxx
"
รายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
เครดิต ค่าตัดจำหน่ายสะสม
xxx
"
รายการปรับมูลค่าสินทรัพย์ในงบดุล
ตัวอย่างที่
9
ในวันที่ 1 มกราคม 25x1
บริษัทฯ จ่ายเงินซื้อสิทธิบัตรมูลค่า 300,000 บาท
โดยกำหนดใช้การตัดจำหน่ายด้วยวิธีเส้นตรงเป็นเวลา 5 ปี
25x1
ม.ค. 1
เดบิต สิทธิบัตร
300,000
เครดิต เงินสด
300,000
ธ.ค. 31
เดบิต ค่าตัดจำหน่าย-สิทธิบัตร
60,000
เครดิต ค่าตัดจำหน่ายสะสม-
สิทธิบัตร
60,000
7.
ค่าสูญสิ้น
เป็นการบันทึกบัญชีในวันปรับปรุงวันสิ้นงวดเพื่อบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
และนำค่าสูญสิ้นสะสมมาบันทึกลดมูลค่าของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนประเภททรัพยากรธรรมชาติ
เช่น เหมืองแร่ ถ่านหิน บ่อน้ำมัน เป็นต้น
โดยทรัพยากรธรรมชาตินั้นไม่มีการเสื่อมสภาพเหมือนสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
แต่ทรัพยากรธรรมชาติจะลดปริมาณลงในแต่ละปีเมื่อนำมาผลิต การบันทึกค่าสูญสิ้น
จะคำนวณโดยวิธีตามจำนวนผลผลิต กล่าวคือ
ในปีไหนมีการผลิตมากก็จะต้องบันทึกค่าสูญสิ้นมาก
ในการบันทึกค่าสูญสิ้นนั้นจะบันทึกรายการดังนี้
เดบิต
ค่าสูญสิ้น
xxx
"
รายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
เครดิต ค่าสูญสิ้นสะสม
xxx
"
รายการปรับมูลค่าสินทรัพย์ในงบดุล
ตัวอย่างที่
10
บริษัทฯ
ได้ซื้อเหมืองแร่ราคา 900,000 บาท เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 25x1
โดยคาดการณ์ว่าจะผลิตได้ทั้งหมด 65,600 ตัน
โดยเมื่อขุดแร่ได้หมดแล้วประมาณว่าจะขายเหมืองแร่ได้ในราคา 80,000 บาท ในปี 25x1
บริษัทฯ ได้ขุดเหมืองแร่ขึ้นมาทั้งหมด 12,000 ตัน
25x1
พ.ค. 1
เดบิต เหมืองแร่
900,000
เครดิต เงินสด
900,000
ธ.ค. 31 เดบิต ค่าสูญสิ้น-เหมืองแร่ 150,000
ธ.ค. 31 เดบิต ค่าสูญสิ้น-เหมืองแร่ 150,000
เครดิต
ค่าสูญสิ้นสะสม-เหมืองแร่
150,000
8.
วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป
วัสดุสิ้นเปลืองเป็นวัสดุที่มีมูลค่าไม่มากนักใช้แล้วหมดสิ้นเลย
ดังนั้นในการที่กิจการจะบันทึกรายการการเบิกไปใช้แล้วจะทำให้การบันทึกรายการเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
และแต่ละครั้งมูลค่าจะน้อยมาก
ดังนั้นการบันทึกค่าวัสดุสิ้นเปลืองที่เบิกไปใช้จะทำการบันทึกปรับปรุงรายการวันสิ้นงวด
โดยจะทำการตรวจนับว่าในวันสิ้นงวดวัสดุสิ้นเปลืองมีมูลค่าเหลือเท่าใด
แล้วคำนวณว่าในระหว่างงวดได้ใช้วัสดุสิ้นเปลืองไปเป็นจำนวนเท่าใด
โดยเทียบกับวัสดุสิ้นเปลืองที่มีมาตอนต้นงวด
โดยแสดงการคำนวณวัสดุสิ้นเปลืองได้ดังนี้
วัสดุสิ้นเปลืองตอนต้นงวดยกมา
xxx
บาท
หัก
วัสดุสิ้นเปลืองตรวจนับวันสิ้นงวด
xxx
บาท
วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป
xxx
บาท
เมื่อคำนวณหามูลค่าของวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไปแล้วก็จะบันทึกวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไปเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนสำหรับงวด
โดยแสดงการบันทึกดังนี้
เดบิต
วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป
xxx
"
รายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
เครดิต วัสดุสิ้นเปลือง
xxx
ตัวอย่างที่
11
บริษัทฯ มีวัสดุสำนักงานคงเหลือยกมา 1 มกราคม 25x1
เท่ากับ 10,000 บาท ในระหว่างปี 1 มีนาคม 25x1
ซื้อเพิ่มเติมอีก 30,000 บาท ในวันที่ 31 ธันวาคม 25x1
ตรวจนับวัสดุสำนักงานแล้วทั้งหมดเหลือ 3,700 บาท
25x1
มี.ค. 1
เดบิต วัสดุสำนักงาน
30,000
เครดิต เงินสด
30,000
ธ.ค. 31 เดบิต วัสดุสำนักงานใช้ไป 36,300
ธ.ค. 31 เดบิต วัสดุสำนักงานใช้ไป 36,300
เครดิต
วัสดุสำนักงาน
36,300
9.
หนี้สงสัยจะสูญ
เป็นการประมาณหนี้ที่กิจการคาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้ตามความหมายของศัพท์บัญชีลูกหนี้
หมายถึง สิทธิเรียกร้องจากบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นในรูปของเงินสด สินค้า หรือบริการ
โดยบุคคลอื่นจะต้องนำเงินสดมาชำระหนี้คืนจากกิจการ ซึ่งลูกหนี้แบ่งเป็น 2 ประเภท
คือลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น
โดยลูกหนี้การค้าเป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระค่าสินค้าหรือบริการของกิจการที่เกิดจากกิจกรรมการดำเนินงานตามปกติ
แต่ลูกหนี้อื่นเป็นลูกหนี้ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ เช่น
เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการและลูกจ้าง
ตามมาตรฐานการบัญชี กำหนดให้กิจการมียอดลูกหนี้ ณ
วันที่ในงบดุล
(วันปิดงวด)
แล้วให้กิจการประมาณจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้เพื่อไม่ให้ลูกหนี้
ในงบดุลมีมูลค่าสูงเกินไปซึ่งให้ประมาณเป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพื่อนำไป
ลดยอดลูกหนี้
การบันทึกการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจะบันทึกดังนี้
เดบิต
หนี้สงสัยจะสูญ
xxx
"
รายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
เครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ xxx
"
รายการปรับมูลค่าลูกหนี้ในงบดุล
โดยการประมาการตั้งค่าเผื่อนนั้นจะประมาณการได้ 2 วิธี ดังนี้คือ
1.
ประมาณจากยอดขาย
จะประมาณจากยอดขายรวมหรือยอดขายเชื่อก็ได้
เมื่อประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดขายแล้ว
ได้ยอดขายเท่าใดก็จะบันทึกบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเท่านั้นเลยไม่ต้องพิจารณายอดยกมาจากงวดที่แล้ว
2.
ประมาณการจากยอดลูกหนี้
จะประมาณจากยอดลูกหนี้รวมในวันสิ้นงวด หรือลูกหนี้ถัวเฉลี่ยต้นปีและปลายปี
หรือประมาณจากลูกหนี้แต่ละรายตามอายุของหนี้ก็ได้
โดยลูกหนี้ที่ค้างชำระนานก็จะประมาณการเก็บหนี้ไม่ได้ในอัตราที่สูงกว่าลูกหนี้ที่ค้างชำระสั้นกว่า
เมื่อคำนวณยอดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญได้เท่าไร
แล้วต้องนำยอดยกมาของบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในงวดที่แล้วมาพิจารณาเพิ่มเติม
โดยจะบันทึกบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในงวดนี้เพิ่มหรือลดให้เท่ากับยอดที่ต้องการในงวดบัญชีนี้
แสดงการบันทึกการประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดลูกหนี้
โดยให้บัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ยกมาจากงวดที่แล้วน้อยกว่าค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ต้องการในงวดนี้
ตัวอย่างที่
12
ในวันสิ้นงวด 31 ธันวาคม 25x1
บริษัทฯ มียอดลูกหนี้คงเหลือ 7,000,000 บาท โดยบริษัทฯ
ประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้ 1 % ของยอดลูกหนี้
ซึ่งเมื่อต้นปีบริษัทฯ มียอดบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญยกมา 50,000 บาท
25x1
ธ.ค. 31
เดบิต หนี้สงสัยจะสูญ
20,000
เครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
20,000
แสดงการบันทึกการประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดลูกหนี้
โดยให้บัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ยกมาจากงวดที่แล้วสูงกว่าค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ต้องการในงวดนี้
ตัวอย่างที่
13
จากข้อมูลลูกหนี้ยกมาจากตัวอย่างที่ 12
และประมาณการยอดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 1%
แต่กำหนดให้ยอดบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญยกมามียอด 92,000 บาท
25x1
ธ.ค. 31
เดบิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
22,000
เครดิต หนี้สงสัยจะสูญ
22,000
สำหรับบัญชีหนี้สงสัยจะสูญมียอดด้านเครดิตก็จัดเป็นรายการประเภทรายได้อื่นในงบกำไรขาดทุน
การบันทึกรายการเกี่ยวกับลูกหนี้ที่เก็บเงินไม่ได้
แบ่งการพิจารณาเป็น 2 ประเภท
1.
ในกรณีที่กิจการได้ติดตามทวงถามหนี้จนถึงที่สิ้นสุดแล้วและเข้าเงื่อนไขที่จะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามกฎหมายภาษีอากร
เช่น ลูกหนี้ล้มละลาย
เดบิต
หนี้สูญ
xxx
เครดิต
ลูกหนี้
xxx
เดบิต
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
xxx
เครดิต หนี้สงสัยจะสูญ
xxx
2.
กรณีที่คาดว่าจะไม่ได้รับชำระหนี้แน่นอน
แต่ยังตัดจำหน่ายหนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายตามกฎหมายภาษีอากรไม่ได้
เดบิต
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
xxx
เครดิต
ลูกหนี้
xxx
หากต่อมาภายหลังจากที่บันทึกบัญชีกรณีที่ติดตามทวงถามหนี้จนถึงที่สุดแล้วลูกหนี้ไม่มาชำระแต่สุดท้ายลูกหนี้มาชำระ
การบันทึกบัญชีจะแสดงได้ดังนี้
·
กรณีที่รับคืนจากลูกหนี้ที่บันทึกจำหน่ายเป็นหนี้สูญตามกฎหมายภาษีอากร
เดบิต
ลูกหนี้
xxx
เครดิต
หนี้สูญได้รับคืน
xxx
เดบิต
เงินสด
xxx
เครดิต
ลูกหนี้
xxx
·
กรณีที่รับคืนจากลูกหนี้ที่จำหน่ายเป็นหนี้สูญที่ไม่เข้าข่ายกฎหมายภาษีอากร
เดบิต
ลูกหนี้
xxx
เครดิต
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
xxx
เดบิต
เงินสด
xxx
เครดิต
ลูกหนี้
xxx
10.
การแก้ไขข้อผิดพลาด
ในบางกรณีกิจการมีการบันทึกบัญชีผิดพลาดซึ่งตรวจพบก่อนที่จะนำเสนองบการเงินนั้น
กิจการต้องทำการแก้ไขโดยอาจทำการแก้ไขในวันที่พบข้อผิดพลาดหรือแก้ไขในวันสิ้นงวดก็ได้
ซึ่งจะถือว่าเป็นการปรับปรุงรายการประเภทหนึ่ง
ในข้อผิดพลาดที่พบนั้นส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก
-
บันทึกตัวเลขผิด
-
บันทึกชื่อบัญชีผิด
-
ลืมบันทึกบัญชี
การแก้ไขให้ถูกต้องโดยถ้าจะล้างบัญชีออกไปเลยก็ต้องแก้ไขด้วยการบันทึกอีกด้านตรงกันข้าม
หรือหากถ้าบันทึกชื่อบัญชีถูกแล้วแต่จำนวนผิดก็ลงเพิ่มหรือลดจำนวน
โดยการแก้ไขก็ยังคงต้องยึดหลักบัญชีคู่
ตัวอย่างที่
14
เป็นการบันทึกจำนวนตัวเลขผิด
ในวันที่ 15
พฤศจิกายน 25x1
บริษัทฯ ออกบิลค่าบริการให้แก่ลูกค้าเพื่อเรียกเก็บเงินจำนวน 62,000 บาท
แต่พนักงานบัญชีของบริษัทฯ ลงเป็น 6,200 บาท
โดยข้อผิดพลาดดังกล่าวพบก่อนที่จะปิดงบการเงิน
เดิมบันทึกดังนี้
25x1
พ.ค. 15
เดบิต ลูกหนี้การค้า
6,200
เครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
6,200
ที่ถูกต้องบันทึกดังนี้
25x1
พ.ค. 15
เดบิต ลูกหนี้การค้า
62,000
เครดิต รายได้ค่าบริการ
62,000
จากการเปรียบเทียบพบว่าชื่อบัญชีทั้งด้านเดบิตและด้านเครดิตถูกต้องหมดแล้วเพียงแต่จำนวนเงินไม่ถูกต้อง จึงต้องลงเพิ่มเติมไปอีก 55,800 บาท ดังแสดงในสมุดรายวันทั่วไปดังนี้
จากการเปรียบเทียบพบว่าชื่อบัญชีทั้งด้านเดบิตและด้านเครดิตถูกต้องหมดแล้วเพียงแต่จำนวนเงินไม่ถูกต้อง จึงต้องลงเพิ่มเติมไปอีก 55,800 บาท ดังแสดงในสมุดรายวันทั่วไปดังนี้
25x1
พ.ค. 31
เดบิต ลูกหนี้การค้า
55,800
เครดิต รายได้ค่าบริการ
55,800
ตัวอย่างที่
15
เป็นการบันทึกชื่อบัญชีผิดพลาด
ในวันที่ 15 กรกฎาคม 25x1
บริษัทฯ จ่ายค่าน้ำค่าไฟจำนวน 4,000 บาท เป็นเงินสด
แต่กิจการไปบันทึกรายการเป็นค่าแรงด้วยจำนวนเงิน 4,000 บาท
เดิมบันทึก
เดบิต ค่าแรง 4,000
เดบิต ค่าแรง 4,000
เครดิต
เงินสด
4,000
การบันทึกบัญชีที่ถูกต้อง
เดบิต
ค่าน้ำค่าไฟ
4,000
เครดิต
เงินสด
4,000
เมื่อบัญชีค่าแรงผิด
ซึ่งบันทึกไว้ทางด้านเดบิตก็ต้องล้างออกด้วยด้านตรงกันข้าม คือด้านเครดิต
และเพิ่มการบันทึกบัญชีด้านเดบิตด้วยบัญชีค่าน้ำค่าไฟ ซึ่งจะถูกต้องตามระบบบัญชีคู่
25x1
25x1
ก.ค. 15
เดบิต ค่าแรง
4,000
เครดิต
เงินสด
4,000
ตัวอย่างที่
16
เป็นการลืมบันทึกรายการค้า
บริษัทฯ พบว่า ลืมบันทึกรายการค้ารายการหนึ่ง
โดยพบข้อผิดพลาดดังกล่าวในวันที่ 21 ธันวาคม 25x1
ซึ่งรายการค้าดังกล่าวคือ การที่บริษัทฯ
ส่งบิลไปเรียกเก็บเงินจากลูกค้าเป็นค่าบริการจำนวน 42,000 บาท
25x1
ธ.ค. 31
เดบิต ลูกหนี้การค้า
42,000
เครดิต รายได้ค่าบริการ
42,000
การกลับรายการ
เมื่อได้ทำการปรับปรุงรายการในวันสิ้นงวดแล้วบางกิจการจะทำการกลับรายการ
ปรับปรุงเมื่อเนิ่มงวดบัญชีใหม่
โดยการกลับรายการนั้นจะทำให้การบันทึกบัญชีงวดใหม่สะดวกขึ้นเท่านั้น
ทำให้ไม่ต้องคำนึงถึงเงินสดที่ได้รับหรือจ่ายว่าเงินสดรับหรือเงินสดจ่าย
นั้นเป็นการรับหรือจ่าย
สำหรับรายได้ค้างรับ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
ค่าใช้จ่าจ่ายล่วงหน้าหรือรายได้รับล่วงหน้า
ดังนั้นเมื่อกลับรายการแล้วในงวดบัญชีใหม่ถ้ากิจการได้รับเงินสดหรือจ่าย
เงินสดแล้วก็จะบันทึกรับเงินและจ่ายเงินเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน
ได้เลย
ถ้ากิจการจะกลับรายการ จะมีอยู่ 4
ประเภทที่จะสามารถบันทึกกลับรายการได้ คือ
ประเภท
|
การบันทึก
รายการปรับปรุง ณ วันสิ้นงวด
|
การบันทึกรายการกลับรายการ
ณ
วันเริ่มงวดใหม่
|
1.
ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้ากรณีบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย
|
เดบิต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
xx
เครดิต ค่าใช้จ่าย xx
|
เดบิต ค่าใช้จ่าย
xx
เครดิต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า xx
|
2.
รายได้รับล่วงหน้ากรณีบันทึกเป็นรายได้
|
เดบิต รายได้
xx
เครดิต รายได้รับล่วงหน้า xx
|
เดบิต รายได้รับล่วงหน้า
xx
เครดิต รายได้ xx
|
3.
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
|
เดบิต ค่าใช้จ่าย
xx
เครดิต ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย xx
|
เดบิต ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
xx
เครดิต ค่าใช้จ่าย xx
|
4.
รายได้ค้างรับ
|
เดบิต รายได้ค้างรับ
xx
เครดิต รายได้ xx
|
เดบิต รายได้
xx
เครดิต รายได้ค้างรับ xx
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น